วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ม้าหั่นยา








ม้าหั่นยา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีรางและปล่องเพื่อใช้ใส่ใบยาสูบ ตัวม้าหั่นใบยามีไม้ประกอบอยู่ ๒ ส่วนคือไม้ราง
และปล่องหรือหู
ประโยชน์ใช้สอย สำหรับหั่นใบยาหรือซอยใบยาให้เป็นเส้นยาวๆ แล้วนำไปผึ่งแดดจนแห้งจากนั้นนำมาเก็บไว้เพื่อม้วนเป็นยาสูบ
ประวัติความเป็นมา การหั่นยาต้องมีม้ารองนั่งสำหรับนั่งหั่นยา และมีดหั่นยาประกอบกันใช้ไม้แผ่นยาวสำหรับนั่งตัวต่ำๆ ส่วนใบมีดหั่นยาใช้ใบเลื่อยขนาดใหญ่ใช้เหล็กขูดลับทำเป็นคม หากต้องการให้ใบมีดหนักก็ใช้เหล็กประกบกันให้ใบใหญ่ขึ้น ปัจจุบันชาวบ้านไม่นิยมปลูกชนิดที่หั่นเป็นยาเส้นเช่นนี้อีกแล้ว แต่กลับมาปลุกยาชนิดที่เรียกว่า ยาใบ โดยเก็บใบมาเสียบไม้ตากให้แห้งขายเป็นใบๆ ฉะนั้นการปลูกยาชนิดที่ต้องหั่นจึงไม่ค่อยมีใครทำกัน เพราะขั้นตอนวิธีการไม่สะดวกและเหนื่อยกว่าการทำยาใบ ดังนั้นการใช้ม้าหั่นยาชนิดยาเส้นจึงหาดูได้ยากมาก

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กระต่ายขูดมะพร้าว




กระต่ายขูดมะพร้าว (ภาษาเรียกภาคกลาง)
แมวขูด (ภาษาเรียกภาคเหนือ )
กระต่ายขูดบักพ่าว (ภาษาเรียกภาคอีสาน)
เล็บขูด (ภาษาเรียกภาคใต้)
ลักษณะ ฟันที่ใช้ขูดเนื้อมะพร้าวมีลักษณะเป็นซี่ยาวเหมือนฟันกระต่ายประกอบกับโครงไม้ซึ่งใช้เสียบฟันขูดและนั่งเวลาขูดมะพร้าว
ประโยชน์ใช้สอย เป็นเครื่องมือสาหรับขูดมะพร้าวที่ยังไม่กะเทาะเปลือกออก
ประวัติความเป็นมา เดิมทีการขูดมะพร้าวคั้นกะทิจะใช้ช้อนที่ทาจากกะลามะพร้าวขูดเป็นฝอย ต่อมาทาเป็นฟันซี่โดยรอบบางแห่งใช้ซีกไม้ไผ่บากรอยเป็นซี่ กระทั่งมีการนาเหล็กมาทาเป็นซี่ละเอียด ปลายเหล็กคม เรียกว่า ฟันกระต่าย อย่างไรก็ตามการใช้กระต่ายขูดมะพร้าวลดน้อยลงทุกที เนื่องจากปัจจุบันมีกะทิสาเร็จรูปขายซึ่งสะดวกสบายมากกว่า เราจึงไม่เห็นกระต่ายขูดมะพร้าวคู่ครัวไทยเหมือนดังเช่นอดีต

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หินฝนยา



หินฝนยา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นแผ่นหินทรงกลม มีไม้บดที่ทำมาจากไม้
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับฝนยาให้มีความละเอียด และทำให้ตัวยาหลายชนิดผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
ประวัติความเป็นมา เป็นแท่นหิน ใช้สำหรับฝนยาหมู่ เช่น นวเขี้ยว หรือฝนตัวยาเพื่อทำน้ำกระสายยา

กระบุง



กระบุง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
เปี้ยด (ภาษาเรียกภาคเหนือ)
กระบุ๋ง (ภาษาเรียกภาคอีสาน)
ลักษณะ สานด้วยตอกไม้ไผ่ ปากกลม ก้นสอบเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
ปากกว้างกว่าก้นมักมีขอบและผูกเสริมตามมุมและก้นด้วยหวายมีหูสำหรับสอดเชือกสำหรับคล้องกับคานหาบ
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะสำหรับใส่สิ่งของและพืชพันธุ์ต่างๆ
ประวัติความเป็นมา กระบุงเป็นภาชนะที่นิยมใช้กันทั่วไป ใส่เมล็ดข้าว พืช ข้าวเปลือก ข้าวสาร อาจใช้วิธีการหาบเป็นคู่หรือแบกกระบุง บางท้องถิ่นจะใช้เป็นภาชนะตวงด้วย เช่น กระบุงขนาดความจุ ๑๕ ลิตร หรือ ๒๐ ลิตร ๓๒

กลัก




วัตถุ กลัก (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นภาชนะรูปกระบอกทำด้วยกระบอกไม้ไผ่มีฝาปิด
ประโยชน์ใช้สอย ใช้เก็บเอกสาร เงินทองของมีค่า และใช้เก็บอาหารต่าง ๆ
ประวัติความเป็นมา กลักชนิดทำด้วยกระบอกไม้ไผ่คงทำมาก่อนการใช้ตอกจักสาน ชาวบ้านใช้กลักสำหรับใส่โฉนดที่ดิน ตั๋ววัว ตั๋วควาย ในทะเบียนบ้าน เงินทองของมีค่า ใส่ไว้ในกลักเสมอ เพราะเป็นการป้องกันแมลงสาบ หนู ปลวก
มาแทะกัดกินทำให้สิ่งของเสียหายได้ กลักยังใช้ใส่น้ำพริก อาหารแห้งใส่ไปกินตามกลางไร่กลางนา การเลือกลำไม้ไผ่ต้อง เลือกปล้องตรง ขนาดของลำแล้วแต่ความต้องการนำไปใช้ ตัดไม้ไผ่มา ๑ ปล้อง ให้เหลือข้อหัวหรือข้อท้ายไว้ ควั่นส่วนปากกระบอกเข้าลึกไปในเนื้อไม้กึ่งหนึ่ง ให้กระบอกไม้ไผ่ที่ทำเป็นฝาปิดสวมได้ ฝากระบอกไม่ไผ่จะเหลาบาง เมื่อสวมเข้ากับตัวกระบอกแล้วจะสนิทกันพอดี ใช้หนังปลากระเบนขัดผิวกลักจนเรียบ นอกจากกลักซึ่งทำด้วยกระบอกไม้ไผ่แล้ว ยังใช้ตอกไม้ไผ่สานเป็นลายสองมีฝาปิด ส่วนใหญ่สานเป็นรูปทรงกระบอก และรูปทรงสี่เหลี่ยมลงรักด้านนอกด้านในกลัก ทำให้กลักใช้ได้ทนทาน ๓๑

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หินบดยา





หินบดยา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ หินบดยามีส่วนประกอบคือ แท่นหิน และลูกบดหิน แท่นหิน
มักสกัดหินเป็นแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตา
กว้างประมาณ ๑๕ ซนติเมตร หนาประมาณ ๑๐ เซนติเมตร
ส่วนลูกบดหิน สกัดหินเป็นรูปทรงกระบอก ปลายมน ๒ ข้าง
ลูกบดหินมีความยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
ประโยชน์ใช้สอย เป็นเครื่องมือบดยาแผนโบราณให้ละเอียด เพื่อทำเป็นยาใช้รักษาโรคต่างๆ
ประวัติความเป็นมา สำหรับการใช้แท่นหินบดที่ใช้กันในพื้นบ้านคงใช้ตัวยาสมุนไพร ทา ต้ม และบดตัวยาให้ละเอียดเก็บเป็นผงหรือเม็ดไว้ได้นาน รวมทั้งสามารถละลายน้ำได้เร็ว วิธีใช้หินบดยา ก่อนใช้ต้องนำเอาตัวยาจากสมุนไพรไปใส่ครกไม้หรือครกหินตำให้ละเอียดเสียก่อน ใช้ตะแกรงหรือแร่งใส่ตัวยาร่อน นำผลซึ่งร่อนนั้นไปผสมกับตัวยาอื่นๆ ตามสัดส่วนของการทำยาแผนโบราณ จากนั้นวางยาไว้ในแท่นหินทีละน้อยแล้วจับลูกหินบดยากดทับแท่นหินครูดไปมา ขณะบดยาจะใช้น้ำ น้ำผึ้งพรมให้ยาเปยก บดจนตัวยาเข้ากันก็นำไปปั้นเป็นเม็ดเล็กๆ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยสะดวกและรวดเร็วเข้ามาแทนที่ การใช้แท่นหินบดยาจึงไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กระบอกน้้า



กะบอกน่้า (ภาษาเรียกภาคอีสาน)
ปองน้้า (ภาษาเรียกภาคใต้)
ลักษณะ ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่
ประโยชน์ใช้สอย กระบอกน้ำใช้ใส่น้ำดื่ม น้ำใช้ เมื่อเดินทางไปไกลๆ
ประวัติความเป็นมา การเลือกลำไม้ไผ่มาทำกระบอกน้ำ ต้องเลือกลำไม้ไผ่ที่แก่จัด ลำโต ปล้องยาว ชาวบ้านมักใช้ไผ่สีสุก ไม้ไผ่ป่า ไม้ไผ่ตง และไม้ไผ่หก ตัดลำไม้ไผ่ส่วนที่ทำกระบอกยาวประมาณ ๑ เมตร ใช้เลื่อยหรือมีดตัดก้นกระบอกให้เหลือข้อไว้เพื่อใส่น้ำไม่รั่ว ทางปลายกระบอกจะตัดให้เลยข้อมาเกือบครึ่งปล้อง ปากกระบอกเป็นรูปมนๆ ใช้ยกดื่มหรือเทใส่ภาชนะรองรับได้สะดวกยิ่งขึ้นข้อปล้องกระบอกภายในใช้ท่อนไม้ หรือเหล็กทะลุข้อปล้องออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะส่วนก้นและปลายปากกระบอก บางที่ชาวบ้านจะเหลาผิวกระบอกด้านนอกออกเพราะทำให้กระบอกน้ำเบาลง รวมทั้งมีสีขาวสวยงาม เจาะรูปากระบอกและก้นกระบอกเพื่อใช้ร้อยเชือกแขวนสะพายระหว่างเดินทาง การใช้กระบอกน้ำคงใช้กันมานานแล้วและคาดว่าคงคิดทำขึ้นก่อนการสานชะลอมตักน้ำของพระร่วง ซึ่งหมายถึงครุ ปกติชาวบ้านจะใช้กระบอกน้ำในเวลาไปทำนา ทำไร่


กะเหล็บ






ลักษณะ เป็นภาชนะสานทึบรูปค่อนข้างแบนทรงสูงปากภาชนะ เป็นวงกลมและเริ่มป่องเหมือนโอ่งน้ำ พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สะพายติดหลังใส่สิ่งของได้เอนกประสงค์
ประวัติความเป็นมา กะเหล็บเป็นของใช้ที่สำคัญของชาวไทยโซ่ง
หรือลาวโซ่ง กะเหล็บที่สานขึ้นจะมีความประณีตลายละเอียดรูปร่าง
สวยงามมาก ในเวลาเดินทางกะเหล็บนอกจากจะใส่ของใช้เป็นเสื้อผ้า แป้ง ข้าว ของกิน ผักผลไม้ และเมล็ดพืชในการเพาะปลูกแล้วยังใช้ในพิธีแต่งงานโดยใช้กะเหล็บเป็นขันหมากของฝ่ายเจ้าบ่าว ภายในกะเหล็บจะใส่หมาก พลู เมื่อเจ้าบ่าวสะพายกะเหล็บไปถึงบ้านของเจ้าสาวแล้ว เจ้าสาวจะรับกะเหล็บไปวางไหว้ผีบ้านผีเรือนพร้อมกับเจ้าบ่าวเมื่อคู่บ่าวสาวไหว้เสร็จจะนำเอาหมากพลูในกะเหล็บให้คนเฒ่าคนแก่ที่มาร่วมในพิธีนั้นเคี้ยวกินพร้อมขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลในการครองชีวิตคู่ ในปัจจุบันชาวโซ่งยังใช้กะเหล็บในพิธีแต่งงานอยู่มากกว่าใช้ทำอย่างอื่น


หมอนไม้



หมอนไม้ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้มะค่า ไม้ประดู่ หรืออาจใช้ไม้สักทำก็ได้ วิธีการทำจะตัดไม้แผ่นๆ ที่เลื่อยไว้แล้วมีความหนา ๓-๕ เซนติเมตร มีความกว้าง ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๒๐-๒๕ เซนติเมตร ใช้กบไสแผ่นไม้ให้เรียบ ผ่าแผ่นไม้ ด้วยเลื่อยทั้ง ๒ ข้าง จากนั้นใช้สิ่วเจาะไม่ให้เป็นเดือยขัดกันประมาณ ๕-๖ เดือย โดยเจาะสลับกันในแต่ละด้านของแผ่นไม้ด้วย การเจาะเดือยไม้จะเจาะไปถึงไม้ที่ผ่าซีกด้วยเลื่อยนั้น และยึดติดกันด้วยเดือยที่เจาะ เวลาใช้ให้ตั้งแผ่นไม้ให้ขัดกันเหมือนรูปกากบาท ขัดผิวไว้ด้วยกระดาษทรายให้เรียบ เวลาเก็บสามารถพับให้เรียบเหมือนเป็นไม้แผ่นเดียวได้
ประโยชน์ใช้สอย ใช้หนุนศีรษะ
ประวัติความเป็นมา หมอนไม้เป็นของใช้พื้นบ้านสำหรับหนุนนอนของคนแก่เฒ่าที่ไปถือศีลภาวนาในวันพระ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการรักษาศีลที่วัด ควรละในสิ่งที่เป็นกิเลสละจากความสะดวกสบายต่าง ๆ แม้แต่หมอนที่หนุนนอนก็ไม่ควรอ่อนนุ่ม ดังนั้นจึงมีการทำหมอนไม้ไว้สำหรับหนุนนอน เมื่อไปรักษาศีลภาวนาในวันพระหมอนไม้เป็นแผ่นเดียวเก็บรักษาง่าย การใช้หมอนไม้คนแก่เฒ่ามักใช้สไบ หรือผ้าขาวม้ารองที่หมอนไม้ก่อนที่จะหนุนนอน จะได้ไม่เจ็บและนอนได้สะดวก

เตารีด








เตารีด (ภาษาเรียกภาคกลางและภาคใต้)
ลักษณะ ทำด้วยเหล็กหรือทองเหลืองทั้งอัน มีน้ำหนักมาก ประมาณ ๒-
เท่าของเตารีดไฟฟ้าในปัจจุบัน
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ในการรีดผ้าของคนโบราณ
โดยใช้ก้อนถ่านไฟให้ความร้อน
ประวัติความเป็นมา การที่ทำเตารีดให้มีน้ำหนักมากนั้นเพื่อเวลากดทับลงบนผืนผ้าที่จะรีดให้เกิดความเรียบ ผนังเตาทั้งสองข้างมีลักษณะโอบเข้าไปเป็นรูปทรงแหลมๆ ตอนบนบริเวณริมขอบทำเป็นลายหยักรูปฟันปลาไปตลอดแนว เพื่อเป็นการระบายความร้อนจากถ่านก้อนกลมๆ ที่เผาไปจนร้อนซึ่งบรรจุอยู่ภายในเตารีด ความร้อนจากถ่านไฟจะทำให้ผ้าเรียบ สำหรับถ่านที่ใช้ในการรีดผ้านั้นจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ เวลานำมาเผาไฟจะไม้แตกกระจาย ตลอดจนมีขี้ถ่านน้อยกว่าถ่านหุงข้าวมาก ถ่านรีดผ้าส่วนมากมักทำมากจากไม้โกงกาง การรีดผ้าด้วยเตารีดดังกล่าวนี้จะต้องมีใบตองพับซ้อนกันไว้หลายๆชั้นอยู่ในขณะที่รีดด้วยเพื่อใช้เป็นที่นาบคลายความร้อน เมื่อถ่านมอดลงเป็นขี้เถ้าจะต้องนำเตารีดออกไปนอกชานแล้วใช้พัดใบลานพัดให้ขี้เถ้ากระจายฟุ้งออกไปตามช่องหยักฟันปลา และเวลารีดผ้าต้องมีผ้าขาววางทับผ้าที่รีดก่อนเพื่อสีผ้าที่รีดจะได้ไม้ซีด

เชี่ยนหมากหรือ กระทายหมาก



ขันหมาก (ภาษาเรียกภาคเหนือ)
ลักษณะ เชี่ยนหมากทำจากวัสดุหลายประเภท เช่น ไม้ ทองเหลือง
เงิน พลาสติก และเครื่องเขิน ตัวเชี่ยนหมากมีลักษณะคล้ายๆ พาน
หรือเป็นเหลี่ยม ๖ เหลี่ยม
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวางตลับใส่หมาก
ตลับยาเส้น กระปุกปูน ตลับสีเสียด และซองใส่พลู
ประวัติความเป็นมา เชี่ยนหมากมีมาแต่โบราณในราชาศัพท์ระดับพระมหากษัตริย์เรียกพานพระศรี ระดับราชวงศ์เรียก พานหมากเสวย เชี่ยนหมากนอกจากจะใช้วางอุปกรณ์ในการกินหมากแล้ว ยังใช้ต้อนรับอาคันตุกะแขกบ้านแขกเมืองได้เป็นอย่างดี การกินหมากในสมัยโบราณถือว่าเป็นสิ่งดีงาม เพราะคนฟันดำเป็นลักษณะของคนสวย นอกจากนี้ยังให้เกิดความเพลิดเพลินในเวลาเคี้ยวหมาก ช่วยฆ่าเวลาและทำให้ฟันแข็งแรงทนทานอีกด้วย การกินหมากมาเลิกอย่างจริงจังในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งสกปรกเลอะเถอะไม่ทันสมัย เชี่ยนหมากจึงไม่ค่อยพบเห็นกันมาตั้งแต่ในครั้งกระนั้นแล้ว และยิ่งคนสูงอายุล้มหายตายจากไปหมด การกินหมากก็คงค่อยๆ สูญหายไป เชี่ยนหมากจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป



วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตะเกียงเจ้าพายุ




ลักษณะ ตะเกียงเจ้าพายุมี นมหนู มีวาล์ว มีท่อส่งน้ำมัน ตัวเปิดปิดน้ำมัน มีเกจ์วัดความดัน และไส้ตะเกียง
ประโยชน์ใช้สอ ใช้สำหรับให้แสงสว่าง
ประวัติความเป็นมา ตะเกียงเจ้าพายุดวงแรกของโลกได้ถือกำเนิดขึ้นตามที่มีเอกสารยืนยันในปี ค.. 1895 โดยคุณ Meyenberg, Wendorf และ Henlein ได้ทำการจดลิขสิทธิ์ "ตะเกียงไอ (Vapourlamp) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค ศ. 1895 ตะเกียงประเภทนี้นอกจากใช้ในบ้านเรือนแล้วยังได้ถูกนำไปใช้ในโคมไฟตามถนนหนทาง รวมถึงประภาคารเพื่อส่งแสงเจิดจ้าฝ่าความมืดผ่านมหาสมุทรเพื่อแจ้งเตือนเรือถึงภัยจากหินโสโครก ส่วนชื่อเป็นทางการของตะเกียงเจ้าพายุจะได้แก่ "Incandescent Mantle Pressured Lamp" ซึ่งน่าจะแปลได้ว่า "ตะเกียงไส้เปล่งสว่างด้วยแหล่งเชื้อเพลิงที่ทำการอัดแรงดัน"