วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555
หมอนปูน
หมอนปูน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นหมอนทรงสี่เหลี่ยม ทำจากดินเผาเคลือบเงาเป็นศิลปะแบบจีน
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับหนุนศีรษะ
ประวัติความเป็นมา หมอนเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่มีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตแต่ละวันจองมนุษย์แล้วมีกันทุกครัวเรือนก็ว่าได้ ในประวัติศาสตร์ของจีนก็มีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องของหมอนไว้เช่นกัน โดยชาวจีนเริ่มแรกใช้หินเป็นหมอนหนุน ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยการใช้วัสดุอื่นๆ มาทำแทน เช่น ไม้ หยก ทองแดง ไม้ไผ่ และกระเบื้อง ซึ่งในจำนวนนี้หมอนที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในสมัยก่อนก็คือหมอนกระเบื้อง หมอนกระเบื้องกำเนิดขึ้นในยุคที่ศิลปะการทำกระเบื้องกำลังฟื้นฟู พบครั้งแรกในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ.๕๘๑ – ๖๑๘) แต่ก็เริ่มผลิตกันอย่างแพร่หลายราวสมัยรางวงศ์ถัง (ค.ศ.๖๑๘ – ๙๐๗) และถูกผลิตเป็นที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยราชวงศ์ซ่งจินและหยวน (ศตวรรษที่ ๑๐ –๑๔) โดยถือว่าหมอนกระเบื้องที่ผลิตจากฉือโจว เมืองหันตัน มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของประเทศจีนเป็นหมอนที่มีคุณภาพเยี่ยมที่สุด โดยรูปร่างของหมอนกระเบื้องนั้นก็นิยมทำเป็นรูปร่างหลากหลายทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม เป็นรูปสัตว์ คน และอื่นๆ โดยรูปร่างของหมอนกระเบื้องจะเป็นกระจกสะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี สภาพสังคมในเวลานั้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในวัฒนธรรมประเพณีของจีนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและบำบัดโรคภัยไข้เจ็บในยามนอนคนโบราณสมัยก่อนมักใส่สมุนไพรไว้ในหมอนด้วย
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
หิ้งพระ
หิ้งพระ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ หิ้งพระทำมาจากไม้และเหล็กมีการแกะสลักลวดลายสวยงามตรงของหิ้งพระ
ประโยชน์ใช้สอย ใช้วางพระพุทธรูปสำหรับบูชา กราบไหว้ของคนไทย
ประวัติความเป็นมา คนไทยส่วนมากจะมีหิ้งพระประจำบ้านเพื่อใช้ในการวางพระพุทธรูปในการกราบไหว้บูชาพระ ต่อมาก็มีการทำเป็นโต๊ะหมู่บูชาเพราะจะได้มีที่ในการวางพระพุทธรูปมากขึ้นแต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือมีไว้เพื่อกราบไหว้ขอพร การจัดตั้งหิ้งพระหรือหิ้งเทพ ควรหันหน้าพระประธานไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอิสาน เรียกว่า "ทิศเศรษฐี") หรือ ทิศตะวันออก หรือ ทิศเหนือ เป็นที่นิยมมากเมื่อเราหันหน้าไปหาพระประธาน ด้านซ้ายมือของเราหรือเท่ากับด้านขวามือของพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานควรจัดตั้งด้วยองค์พระสงฆ์ เช่น รูปปั้นของหลวงปู่แหวน รูปหลวงพ่อคูณ ส่วนทางด้านซ้ายขององค์พระประธานหรือขวามือของเรา ควรจะเป็นการตั้งรูปแบบของ องค์เทพต่างๆ ที่เราเคารพสักการะบูชา เช่น รูปของ องค์พระศิวะ องค์พระนารายณ์ องค์จตุคามรามเทพ และ องค์พระพรหมรูปพ่อแก่ฤาษี เป็นต้น ควรตั้งให้องค์พระประธานดูสูงกว่ารูปขององค์เทพต่างๆ ถ้าหากว่าองค์พระประธานมีขนาดเล็กกว่าองค์เทพ ก็ควรจัดหาโต๊ะที่ตั้งแล้วมองดูสูงกว่าฐานที่ตั้งเทพ บ้านเรือนหลังนั้นก็จะเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข
ที่ใส่แก้ว
ที่ใส่แก้ว (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทํามาจากปอทักมีหูสําหรับหิ้ว
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะใส่แก้ว
ประวัติความเป็นมา ที่ใส่แก้วหรือพวงใส่แก้วนี้มีประโยชน์สําหรับเคลื่อนย้ายแก้วน้ำเพราะมีที่วางแก้ว ๒ ใบเพื่อความสะดวกในการถือและลดการกระเด็นของน้ำภายในแก้วที่ใส่แก้วน้ำาหรือพวงใส่แก้วน้ำอาจมีมากกว่า ๒ ช่ องก็ได้โดยปกตินอกจากใส่แก้วน้ําดื่มแล้วยังสามารถใส่แก้วเครื่องปรุงจําพวกน้ำตาล น้ำส้มสายชู พริกป่น เครื่องปรุ งรสอื่นๆ แล้วแต่ความต้องการ
นาฬิกาตั้งพื้น
นาฬิกาตั้งพื้น (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ตัวเรือนทํามาจากไม้ ฉลุลวดลายรอบนอก มีกระจกติดอยู่ด้านหน้า
ตัวเรือนมีขาสี่ขาสําหรับตั้งกับพื้น
ประโยชน์ใช้สอย สําหรับบอกเวลาและประดับตกแต่ง
ประวัติความเป็นมา จุดกําเนิดของเครื่องบอกเวลานั้นนับย้อนไปได้ ถึงห้าหรือหก
พันปีก่อน เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
ชาวอียิปต์ เมื่อ ๓,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาลมีอุปกรณ์บอกเวลาในรูปของแท่งหินสูงสี่เหลี่ยมยอดปิระมิด ซึ่งจะทอดเงาลงบนทรายบอกเวลาที่ผ่านไปในช่ วงเวลาเดียวกันนั้นก็มีการใช้นาฬิกาแดดด้ วยนาฬิกาแดดประกอบด้วยแผ่นโลหะทรงกลมมีส่วนนูนลาดเอียงขึ้นมาจากตรงกลางเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนไป เงาที่ตกลงบนแผงหน้าปัดจะเป็นตัวบอกเวลาทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้นาฬิกาแดดอยู่บ้าง ในปี ๑,๕๐๐ ก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์ได้ประดิ ษฐ์นาฬิกาแดดที่พกพาติดตัวขึ้นมาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของนาฬิกาในปัจจุบัน
เตียงสี่เสา
เตียงสี่เสา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทําจากเหล็ก เป็นโครงมีสี่เสาเพื่อใช้ติดหูมุ้ง
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สําหรับนอน
ประวัติความเป็นมา การทําเตียงสี่เสาจะเริ่มต้นด้วยการนําเหล็กมาตัดให้ ได้ ขนาดที่
พอเหมาะแล้วนํามาประกอบเป็นโครง โดยจะมีการตกแต่งลวดลายของโครงเหล็ ก
ให้มีความสวยงามตามที่ต้องการ ซึ่งเตียงสี่เสาจะยกสู งจากพื้ นประมาณสองฟุ ตเพื่อให้ เกิ ดความปลอดโปร่ง
อากาศถ่ายเทได้สะดวกรวมทั้งยังใช้ในการเก็บของ
ประเภทกระเป๋าหรือกล่องไว้ใต้เตียงได้ตามต้องการ
กาน้้าชา
กาน้้าชา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ กาน้ําชาทํามาจากดินเผาเคลือบเงามีหูหิ้ว ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีน
ประโยชน์ใช้สอย เป็ นอุปกรณ์สําหรับใส่น้ําชงชาหรือต้มน้ําสุกไว้เพื่อดื่ม
ประวัติความเป็นมา การดื่มน้ํ าชาในหมู่ ชนชาติ ต่างๆ สื บเนื่องตกทอดมาตั้ งแต่
โบราณ ภาชนะที่ใช้บรรจุชาในรูปแบบต่างๆ จึงกลายเป็นสิ่งที่ต้ องให้ ความสํ าคั ญ
ตามมา เพราะถือกันว่าเป็นเครื่องแสดงถึงรสนิยมของผู้ดื่มชา มีหลั กฐานที่ ปรากฏว่ าการดื่มชาด้ วยการลงใบ
ชาและดื่มในถ้วยใบเล็กนิยมมากในราชวงศ์หมิงของประเทศจีน กระทั้งเป็นที่แพร่หลายไปยังประเทศไทย
ไม้คาน
ไม้คาน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ไม้คานทําจากไม้เนื้อแข็ง
ประโยชน์ใช้สอย เป็นไม้ที่ใช้ในการหาบกระบุง ตะกร้า กระเช้า ฯลฯ
ประวัติความเป็นมา การใช้ไม้คานหาบของยังมีให้เห็นอยู่ในสังคมปัจจุบันทั้ ง
ในตัวเมืองหลวงและในท้องถิ่นชนบท
ชะลอม
ชะลอม (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ชะลอมเป็นเครื่องจักสานที่สานขึ้นจากตอกไม้ไผ่บางๆ มีหูหิ้ว
ประโยชน์ใช้สอย ใช้เป็นภาชนะใส่ผักผลไม้และสิ่งของต่างๆ
ประวัติความเป็นมา ชะลอมสานแบบตาเฉลวหกเหลี่ยมตาห่าง มักจะทําเป็น
รูปทรงกระบอกแล้วรวบตอกที่ปากมัดเข้าด้วยกันเพื่อหิ้ว การสานชะลอมขึ้นมาใช้ นอกจากจะทําเป็นภาชนะ
ใส่ของที่มีความคงทนแข็งแรงแล้ว รูปทรงและลายสานที่สวยงามของชะลอมยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของ
มรดกทางวัฒนธรรมอีกด้วย
หมอนขิด
หมอนขิด (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทําจากผ้าฝ้าย เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สําหรับหนุนศีรษะ
ประวั ติ ความเป็ นมา เป็ นของใช้ ที่ เป็ นเอกลั กษณ์ ทางวั ฒนธรรมของชุ มชน
ไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันทุกภาคของประเทศไทย) ในการทํ าหมอนขิ ด ในอดีตจะใช้ผ้าฝ้ายที่ชาวบ้านทอขึ้นมาเอง แต่ปัจจุบันเน้นการผลิตในปริมาณมากจึงจําเป็นต้องใช้ผ้าฝ้ายที่ทอมาจากโรงงาน ในส่วนของการทํ าลายจะมี ๒ ส่วน คื อส่ วนที่ชาวบ้ านทอลายขึ้ นมาเองจากมื อซึ่งมี ความละเอี ยดและประณี ตกว่าลายที่ทํ าสํ าเร็ จจากโรงงาน รวมทั้งในปัจจุบันมีการปรับปรุงรูปแบบลวดลายโดยการนําผ้าไหมเข้ามาทําหมอนขิดด้วย หมอนขิ ดไทยโบราณ หลังได้รับการแต่งตัวใหม่ในรู ปแบบสากลเกิ ดเป็ นส่ ว นผสมที่ ลงตั วระหว่ างภู มิ ปั ญญาไทยและการใช้งานที่เหมาะสม กลายมาเป็นสินค้าส่งออกไปทั่วโลก
วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555
พิมพ์ขนมปากริม
ชื่อวัตถุ พิมพ์ขนมปากริม (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทาจากไม้เนื้อแข็งทรงกลมเจาะรูด้านใน มีด้ามจับ
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์สาหรับทาตัวขนมปากริมไข่เต่า เป็นอุปกรณในการทาขนมโบราณโดยตัวขนมจะมีสองลักษณะอย่างแรกจะเป็นเส้นที่
มีตัวแข็งจะมีรสชาติหวานส่วนอย่างที่สองจะเป็นตัวอ่อนมีรสหวาน
พิมพ์ขนมปากริมทามาจากแผ่นไม้เจาะรูมีด้ามจับเวลาทาตัวขนมจะนาแป้ง
ที่เตรียมไว้มากดบนพิมพ์ ตัวแป้งก็จะไหลรอดออกมาทางรูของแม่พิมพ์
ประวัติความเป็นมา ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วเนื่องจากมีเครื่องทาขนมปากริมและมีเส้นขนมปากริม
สำเร็จขาย
ที่ช้อนฟองน้้าตาล
ชื่อวัตถุ ที่ช้อนฟองน้้าตาล (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทามาจากไม้ไผ่สานเป็นทรงสามเหลี่ยม มีด้ามจับซึ่งทามาจากไม้ไผ่เหลา
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ในการช้อนฟองน้าตาลขณะทาขนม
ประวัติความเป็นมา เป็นอุปกรณ์ในครัวอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์
ช้อนฟองน้าตาลหาดูได้ยากแล้วเพราะมีการผลิตที่ทันสมัยเกิดขึ้นที่ช้อนฟองน้าตาลจึงหมดความจาเป็นลงไป
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555
ตู้ไม้
ตู้ไม้ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นตู้ไม่ฉลุลายทรงสี่เหลี่ยม ขนาดของตู้สูงประมาณ ๑ เมตร ด้านในแบ่งเป็น ๒-๓ ชั้น มีแผ่นไม้เป็นตัวกันปูพรมหรือผ้าทับอีกชั้นเพื่อเพิ่มความสวยงามและเพื่อป้องกันเสี้ยนไม้แทงเกี่ยวผ้า บานพับเปิดปิดเป็นกรอบไม้กับกระจก
ประโยชน์ใช้สอย ตู้ไม้มีประโยชน์สำหรับไว้ใส่เสื้อผ้ารวมทั้งตั้งโชว์สิ่งของทั่วไป
ประวัติความเป็นมา ตู้ไม้เป็นของใช้สำหรับใส่ของตั้งโชว์ทั่วไปมีใช้กันทุกครัวเรือน
กรรไกร
กรรไกร (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากเหล็ก ปากแหลม
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับตัด
ประวัติความเป็นมา กรรไกรโบราณชนิดนี้ส่วนมากนิยมใช้ในการตัดเส้นด้าย กรรไกรมีการพัฒนาการรูปแบบมาเลื่อยๆ จนในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงรูปแบบให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ทั้งรูปร่างและสีสันรวมทั้งยังทำที่จับสำหรับตัดไว้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ปัจจุบันการกรรไกรปากแหลมนี้มีน้อยมากเพราะด้วยความไม่สะดวกในการใช้งานรวมทั้งรูปทรงที่ไม่ทันสมัยด้วยบวกกับมีการผลิตกรรไกรแบบใหม่ขึ้นมาจึงทำให้หาดูกรรไกรโบราณชนิดนี้ได้ยากขึ้น
เสื่อล้าแพน
เสื่อล้าแพน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นเสื่อที่ผลิตจากผิวของต้นไผ่ซึ่งนำมาจักตอกให้แบนใหญ่แล้วสานด้วยลายสองหรือลายสาม มักใช้ไม้ไผ่เฉี้ยะหรือไม้ป้าว เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนนำมาจักเป็นเส้นตอกได้ดี
ประโยชน์ใช้สอย ใช้ทำฝาบ้านหรือเพดานบ้าน
ประวัติความเป็นมา ปัจจุบันเสื่อลำแพนนิยมสานเป็นผืนใหญ่ๆ ในการใช้งานนั้นบางบ้านก็นำไปใช้ ปูนั่ง ปูนอน หรือบางทีก็นำไปใช้ตากพืชพันธุ์ ตากปลา ตากกุ้ง เป็นต้น
เครื่องอัดผ้า
เครื่องอัดผ้า (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง มีฐานเป็นแผ่นไม้ และแผ่นไม้ติดกับ
เกลียวหมุนทับผ้า
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับอัดผ้าให้รีบ โดยการพับผ้าเป็นชั้นๆ แล้วหมุนแกนให้แผ่นไม้ด้านบนทับลงมา ในสมัยโบราณยังไม่มีไฟฟ้าใช้
ประวัติความเป็นมา คนไทยเวลาไปทำบุญก็จะนิยมแต่งกายให้สวยงามเรียบร้อยจึงคิดประดิษฐ์เครื่องอัดผ้าขึ้น เวลาอัดผ้าจะนำผ้าที่ต้องการอัดพับแล้ววางไว้บนแผ่นไม้อัดด้านในจากนั้นก็จะใช้ไม้อัดอีกแผ่นกดทับลงด้วยแรงหมุนจากแกนตรงกลาง เพื่อให้ผ้าเรียบมากขึ้นก่อนหมุนเกรียวจะต้องมีการพรมน้ำลงบนผ้าเล็กน้อยเพื่อช่วยให้ผ้าเรียบมากยิ่งขึ้น ในการกดทับผ้าจะมีแกนสำหรับหมุนแผ่นไม้ที่จะกดทับผ้า ในการหนีบผ้าจะต้องหมุนเกรียวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแน่น
ถาดทองเหลือง
ถาดทองเหลือง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากทองเหลือง มีการฉลุลายรอบพานเพื่อเพิ่มความสวยงาม
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะบรรจุสิ่งของเพื่อใช้ในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์หรือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ
ประวัติความเป็นมา ถาดที่ใช้ในการทำบุญมีหลายประเภท มีทั้งชนิดที่เป็นโลหะซึ่งนิยมทำจากเงิน ทองเหลือง และโลหะเคลือบสี และชนิดที่ไม่ใช่โลหะ คือ ถาดกระเบื้อง ถาดขนาดใหญ่ใช้สำหรับใส่สำรับคาว -หวาน เครื่องกัณฑ์เทศน์ และของที่มีขนาดใหญ่ ถาดขนาดเล็กมีไว้สำหรับใส่ศีลทาน หรือใส่หมากพลู ยาสูบ ตั้งไว้ใกล้อาสนะ ถวายพระสงฆ์ มีข้อสังเกตว่าถาดมักจะมีขาแสดงให้เห็นถึงความสูงจากพื้นสื่อถึงความเคารพสักการะผู้รับของในถาด
ไห
ไห (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ไหเป็นภาชนะที่ทำด้วยดินเผา แล้วเคลือบผิวด้วยน้ำยาเคลือบทั้งภายในและภายนอก เพื่อกันการรั่วซึมและป้องกันกรดและด่าง ปากไหแคบตัวไหป่องก้นไหเล็ก
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะบรรจุอาหารที่มีความเค็ม เปรี้ยว เช่น ไหกระเทียมดอง ไหน้ำปลา และไหผักดอง
ประวัติความเป็นมา ไหทุกแบบจะมีเชือกถักสำหรับเป็นหูหิ้วด้วย เพื่อสะดวกในการขนย้าย สำหรับไหน้ำปลามีการผลิตขึ้นในประเทศไทยที่จังหวัดราชบุรี โรงทำน้ำปลาจะตั้งอยู่ตามจังหวัดชายทะเลทั่วไป เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ระยอง จะต้องซื้อไหจากราชบุรีนี้ไปบรรจุน้ำปลาเพื่อส่งจำหน่ายไปยังท้องที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในปัจจุบันพลาสติกมีบทบาทมาก ดังนั้นที่สำหรับบรรจุน้ำปลาเพื่อจำหน่าย จึงหันมาใช้แกลลอนทำด้วยพลาสติก แต่การบรรจุไหก็ยังทำอยู่ในกรณีที่ต้องการบรรจุน้ำปลาในปริมาตรมาก ๆ
อับใส่ของ
อับใส่ของ(ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นภาชนะทรงกลม มีฝาปิดทำจากไม้ไผ่ขดเป็นกล่องกลม
ประโยชน์ใช้สอย ใช้ใส่ของ เช่น เส้นยาสูบ อาหารแห้ง และสิ่งอื่นๆ ได้เอนกประสงค์
ประวัติความเป็นมา เป็นของใช้พื้นบ้านมาแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันแทบจะไม่มีใช้กันแล้ว การใช้อับใส่ของเพื่อป้องกันแมลงรวมทั้งไม่ให้ฝุ่นผงมาทำให้ของเปรอะเปื้อน วิธีทำอับใส่ของ จะใช้หวายสานโดยจับโค้งงอเป็นวงกลมแล้วใช้หวายหรือไม้ไผ่เป็นซีกผ่ากลางหลายๆอันหนีบให้รอยต่อหัวท้ายชิดกันแล้วจึงเชื่อมด้วยยางไม้เหนี่ยวๆ เช่น ยางตะโก ยางมะพลับ เมื่อทำเสร็จแล้วจะนำมาทาน้ำมันยางหรือลงรัก ทำให้อับมีสีดำ บางทีก็ใช้สีของชาดปละครั่งทาอับใส่ของเพราะนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามแล้ว ยังช่วยรักษาตัวอับให้คงทนถาวร
หีบยาเส้น
หีบยาเส้น (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นภาชนะรูปสี่เหลี่ยม ทำด้วยไม้ มีฝาปิดเปิดได้ ตัวหรือกล่องมักทำเป็นช่องสำหรับใส่เส้นยาสูบ และใบจากหรือใบตอง เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกลม เพราะจะทำห้าเส้นและใบตองหรือใบจากกรอบ
ไม่สะดวกในการมวนยาสูบ
ประโยชน์ใช้สอย ใส่ยาเส้นและอุปกรณ์ในการมวนยาประจำบ้าน
ประวัติความเป็นมา หีบยาเส้นเป็นอุปกรณ์เก็บมวนยาเช่นเดียวกับเชี่ยนหมากที่เป็นอุปกรณ์ในการกินหมากของผู้หญิง ดังนั้นหีบยาเส้นหรือกล่องยาสูบจึงมักจะทำให้สวยงามเป็นพิเศษ เช่น การทำด้วยปุ่มไม้มะค่า หรือการแกะสลักลวดลายแต่งรอบหีบหรืออาจทำเป็นรูปแบบอื่น เช่น ทำเป็นรูปสัตว์ข้างในใส่ยาเส้นและใบตอง แทนที่จะทำเป็นหีบหรือกล่องสี่เหลี่ยมธรรมดา ทั้งนี้อยู่กับความสามารถและความพอใจของเจ้าของ ซึ่งมักจะเป็นผู้ทำขึ้นใช้เองเป็นส่วนใหญ่
แจกัน
แจกัน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นภาชนะทรงสูงมีฝาเปิดปิด ทำจากดินเผาเคลือบเขียนลายมังกรเป็นศิลปะแบบจีน
ประโยชน์ใช้สอย นิยมใช้ใส่ดอกไม้เพื่อการประดับตกแต่ง
ประวัติความเป็นมา แจกันมีหลากหลายรูปทรง และทำจากหลายวัสดุเช่น ดินเผา เซรามิก แก้ว ไม้ นิยมทำลวดลายบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของผู้ผลิตแจกัน ลวดลายที่นิยมเขียนไว้บนแจกันจะเป็นรูปมังกรเป็นส่วนมากโดยมีความหมายถึงความยิ่งใหญ่ความสง่างามแบบศิลปะจีน
ขันน้้าทองเหลือง
ขันน้้าทองเหลือง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นขันน้ำที่ทำมาจากโลหะทองเหลือง
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวหรือน้ำมนต์สำหรับ
พิธีกรรมตามประเพณี
ประวัติความเป็นมา ขันที่ใช้ในการทำบุญนั้นมีหลายประเภท อาทิ ขันเงิน ขันลงหิน และขันทองเหลือง แต่ละประเภทจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป แต่ขันที่พบว่าใช้มากในการทำบุญคือขันพานรองหรือขันที่มีเชิงสำหรับใส่ข้าวสุกตักบาตรพระ การใช้ขันที่มีพานรองหรือขันที่มีเชิงแสดงให้เห็นว่าข้าวสุกที่อยู่ในขันเป็นของสูงเหมาะควรแก่การถวายพระ
ตะเกียงสายฟ้าแลบ
ตะเกียงสายฟ้าแลบ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ถังน้ำมันเป็นเหล็ก เคลือบด้วยอีนาเมลสีดำ
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับให้แสงสว่างในพื้นที่กว้างๆ เช่น โรงงิ้ว โรงลิเก หรืองานมโหรสพ ต่างๆ
ประวัติความเป็นมา เป็นตะเกียงอัดลมประเภทที่อาศัยแรงดันน้ำมันจากถัง พ่นลงมายังห้องเผาไหม้ด้านล่าง ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็น เนื่องจากทุกบ้านมีไฟฟ้าซึ่งมีความสะดวกในการใช้งานและให้แสงสว่างมากกว่า
ตะเกียงโป๊ะ
ตะเกียงโป๊ะ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำด้วยสังกะสีและแก้ว มีหูหิ้วและครอบแก้วกันลม ไส้ทำด้วยด้ายหรือผ้า
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับให้แสงสว่าง
ประวัติความเป็นมา เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทยพวน โดยการใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิง จุดไส้ตะเกียงที่ทำด้วยผ้าที่จุ่มลงไปในน้ำมันก๊าด โดยยกคันโยกโป๊ะ และครอบลงตามเดิม ไส้ตะเกียงไขให้สว่างมากขึ้นหรือหรี่ลงก็ได้
ตะเกียงแสงจันทร์
ตะเกียงแสงจันทร์ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นตะเกียงน้ำมันก๊าดชนิดหนึ่ง เป็นตะเกียงที่ต้องอัดลมเข้าตัวถังเหมือนกับตะเกียงเจ้าพายุ หลักการทำงานก็เหมือนกัน
ประโยชน์ใช้สอย ให้แสงสว่างยามคำคืน
ประวัติความเป็นมา ความเป็นมาของตะเกียงแสงจันทร์ที่มีในเมืองไทยนั่นสรุปได้คร่าว ๆ ตะเกียงแสงจันทร์ก็เหมือนกับตะเกียงเจ้าพายุอย่างไรก็อย่างนั้น โดยทั่วไปตะเกียงแสงจันทร์จะมีถังน้ำมันอยู่ส่วนบนสุดแล้วตามลงมาด้วยตัวถังตะเกียง การใช้ตะเกียงแสงจันทร์เห็นกันตามโรงงิ้วหรืองานวัด เพราะด้วยเหตุว่าตัวมันใหญ่ส่องสว่างได้ทั่วมักใช้กันในงานชุมนุมกันของคนสมัยก่อนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน หรือพบเห็นกันในบ้านของเจ้าขุนมูลนาย คหบดี ปัจจุบันหาตะเกียงแสงจันทร์ดูได้ยากมากนอกจากพวกที่มีของเก่าเก็บจริงๆ หรือไม่ก็พวกนักสะสมเท่านั้น ตะเกียงแสงจันทร์ที่มีขายอยู่ในขณะนี้หรือตะเกียงที่ได้ตกมาถึงมือพวกเราส่วนมากจะได้จากประเทศเพื่อนบ้าน
กระโถนปากแตรทองเหลือ
กระโถนปากแตรทองเหลือง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทรงกลมมีปากผายออกคล้ายแตรขนาดใหญ่กว่าตัวกระโทนทรงสูงคล้ายแจกัน
ประโยชน์ใช้สอย สำหรับรองรับสิ่งปฏิกูล
ประวัติความเป็นมา กระโถน นิยมตั้งไว้ข้างอาสนะสำหรับพระแต่ละรูปในการทำบุญเลี้ยงพระ กระโถนทำขึ้นทั้งจากโลหะ ได้แก่ เงิน ทองเหลือง สำริด กระเบื้อง และโลหะเคลือบสี ซึ่งทำขึ้นในหลายรูปทรง เช่น ทรงปากแตร ทรงค่อม และทรงปลี กระโถนปากแตรในสมัยปัจจุบันหายากมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)