วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ตะบันหมาก




ตะบันหมาก (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นทรงกระบอกขนาดเล็กทำด้วยทองเหลืองกลึงใช้สำหรับตำหรือตะบันหมากข้างในกลวงมีเหล็กลูกตะบันเป็นจุกภายในใช้กระแทกหรือตะบันหมากให้ละเอียด
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ในการตำหมาก
ประวัติความเป็นมา ตะบันเป็นเครื่องใช้ประจำเชี่ยนหมากของคนชรา การใช้ตะบันหมากจะต้องใส่หมากพลูลงไปในตะบัน แล้วใช้เหล็กลูกตะบันกระแทกหรือตะบันหมากให้แหลกพอที่จะเคี้ยวได้ แล้วจึงใช้เหล็กตะบันหมากกระแทก “ ดาก ” หรือจุกที่ก้นดันออกทางปากเพื่อหยิบหมากออกมากิน

เต้าปูน




เต้าปูน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำด้วยทองเหลืองและดินเผา มีรูปทรงผิดแปลกแตกต่างกันไปตามความนิยมของผู้ใช้ในแต่ละท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปจะมีสองส่วนคือ ตัวเต้าปูน สำหรับใส่ปูน และฝาสำหรับปิด มักทำเป็นรูปกรวยแหลมคล้ายฝาชี บางทีมีไม้พายเล็กๆ สำหรับตักปูนป้ายใบพลูเวลากินหมากใส่ไว้ในเต้าปูน
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชะใส่ปูนกินหมาก
ประวัติความเป็นมา เต้าปูนเป็นเครื่องเชี่ยนที่มาพร้อมๆ กับการกินหมากที่คนไทยรับแบบอย่างมาจากอินเดีย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพราะได้พบเต้าปูนทองเหลืองที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกับเต้าปูนในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเต้าปูนเป็นหัตถกรรมที่คนไทยทำขึ้นมาใช้เป็นเวลานานหลายร้อยปยแล้ว แม้ในปัจจุบันก็ยังมีการผลิตเต้าปูนกันอยู่ในหลายท้องถิ่น

รางบดยา



รางบดยา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำด้วยเหล็ก เป็นรางก้นสอบเข้าหากันเป็นรูปสามเหลี่ยมกลับหัว ยาวประมาณศอกเศษ ปลายงอนขึ้นทั้งสองข้างตรงกลางมีจานบดทำด้วยเหล็กขอบคม ตรงกลางมีแกนสอดทะลุทั้งสองข้ามเพื่อใช้เป็นมือจับขณะบดสมุนไพรที่มีลักษณะแข็ง
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับบดยา
ประวัติความเป็นมา แต่เดิมใช้ครกตำสมุนไพรที่ได้จากการหั่นหรือการขูดด้วยบุ้ง ต่อมาได้พัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องบดยารางยาง ซึ่งประกอบด้วยรางเหล็กและลูกกลิ้งกลมขอบคม ลูกกลิ้งจะยึดติดกับคันโยก ผู้บดจะต้องโยกคันโยกเพื่อให้ลูกกลิ้งบดสมุนไพรจนเป็นผง ชาวจีนอาจใช้วิธีเหยียบคันโยกแต่แพทย์ไทยถือว่ายาเป็นของสูงจึงไม่ใช้เท้า ในปัจจุบันเครื่องบดยาได้พัฒนาขึ้นเป็นแบบ รางกลมและใช้ไฟฟ้า

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กระบอกตาล




กระบอกตาล (ภาษาเรียกภาคกลาง)
กะบอก (ภาษาเรียกภาคอีสาน)
ปองตาล (ภาษาเรียกภาคใต้)
ลักษณะ ทำจากลำไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนโดยมีข้อคั่นที่ก้น ส่วนปากกระบอกมีเชือก
ทำเป็นหูสำหรับห้อยหรือแขวน
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับรองน้ำตาลที่ได้จากต้นตาล หรือรองน้ำตาลมะพร้าวจากต้นมะพร้าว
ประวัติความเป็นมา กระบอกตาลทั่วไปจะเห็นว่าภายในมีสีดำ เพราะหลังการใช้งานแล้วมักจะคว่ำปากกระบอกรนควันไฟให้กระบอกแห้งและเป็นการทำความสะอาดไปด้วย กระบอกตาลมักจะเลือกลำไม้ไผ่ที่มีช่วงปล้องยาวและมีขนาดลำใหญ่พอที่จะใส่น้ำตาลได้มาก ในปัจจุบันกระบอกตาลที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่นั้นยังมีใช้อยู่ทั่วไป

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อีเทิ้ง , ขุบ , ตีนช้าง , ฟ้าทับเหว หรือ คันหลุบ





อีเทิ้ง , ขุบ , ตีนช้าง , ฟ้าทับเหว หรือ คันหลุบ
(ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ  อีเทิ้งทำมาจากแผ่นไม้เนื้อแข็ง ๒ แผ่นประกบกัน ไม้แผ่นบนจะ
หนากว่าแผ่นล่าง การที่ใช้แผ่นบนหนา ๆ ก็เพราะต้องมีน้ำหนักถ่วงเพื่อ
ทุบหนูให้ตาย ส่วนไม้แผ่นล่างจะบางกว่า ทำไม้ตั้งขึ้นเป็นเสาเล็ก ๆ
2 เสา ตีประกบกับด้านข้างของไม้แผ่นล่าง ไม้แผ่นบนทำร่องให้ลึก ไม้จะได้หล่นไปตามร่องได้
ประโยชน์ใช้สอย เป็นเครื่องมือสำหรับดักหนู
ประวัติความเป็นมา อีเทิ้งส่วนใหญ่จะดักตามบ้านไม่นำไปดักในนาเพราะมีน้ำหนักมากยากต่อการยกไป ปัจจุบันไม่นิยมใช้อีเทิ้ง เนื่องจากมีการผลิตอุปกรณ์ในการจับหนูที่สะดวกและรวดเร็วจึงทำให้หาดูอุปกรณ์ดังกล่าวได้ยากขึ้น

หม้อน้ำ




หม้อน้ำ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำด้วยดินเผา
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะสำหรับใช้ใส่น้ำไว้ดื่มและใช้สอยอื่นๆ
ประวัติความเป็นมา หม้อดินเผา เป็นงานหัตถกรรมเก่าแก่โบราณที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี การปั้นเริ่มจากขึ้นรูปก็ใช้แป้นหมุนด้วยมือก่อน จากนั้นช่างปั้นจะนำหม้อที่ขึ้นรูปไว้ต่างๆ มาตี โดยจะใช้มือข้างหนึ่งถือก้อนหินกลมยาวมนหนุนภายใน ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับไม้พายแบนๆ ตีนอกหม้อบริเวณที่ตรงกับก้อนหินค่อย ๆ ตีไล่ดินขยายตัวหม้อออกไปจนได้รูปทรงสัดส่วนและความหนาตามที่ต้องการ ก่อนที่จะทาดินเหลืองจนทั่วเพื่อให้เกิดสีแดงสวยเวลาเผาออกมาแล้ว จากนั้นจึงนำหม้อไปผึ้งลมให้แห้งขัดด้วยหินหน้าเกลี้ยงให้ผิวหม้อมันทั้งใบสำหรับหม้อหู และหม้อกานั้น เมื่อตีเสร็จแล้วจึงจะนำส่วนประกอบ เช่น หู พวยกามาติด แล้วจึงค่อยทาดินเหลือง และขัดตามลำดับ บรรดาหม้อที่ปั้นเสร็จแล้วจะนำไปเผาในเตา ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง จนได้ที่เนื้อดินแกร่งดีแล้วก็เป็นอันจบสิ้นกระบวนการผลิต

กระจองงอง, โพรงไต้ หรือ โพรงตะเกียง






กระจองงอง, โพรงไต้ หรือ โพรงตะเกียง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำจากกระบอกไม้ไผ่ 1 ปล้อง ปาดด้านข้างกระกอบไผ่
ออกเล็กน้อยเพื่อวางไต้หรือตะเกียงได้ ใช้มือจับหิ้วด้านบน
ประโยชน์ใช้สอย เป็นโครงไม้สำหรับป้องกันลมพัดไม้ให้ไฟดับ
ในขณะที่ใช้ส่องทางเดิน
ประวัติความเป็นมา การที่ชาวบ้านเรียก “กระจองงอง”
เพราะมีความเชื่อว่า ผีประเภทหนึ่ง คือผีกระจองงองชอบออกหากินตอนกลางคืน มีไฟส่องทางเป็นลำแสงขนาดใหญ่ ออกมาจากใต้คางมีรูปร่างคล้ายเป็นโพรงไม้ จึงคิดทำให้โพรงตะเกียงขึ้น และเรียกชื่อว่า
“ กระจองงอง ” การใช้กระจองงองหรือโพรงตะเกียงค่อยๆ หายไปทุกขณะ