หินบดยา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ หินบดยามีส่วนประกอบคือ
แท่นหิน และลูกบดหิน แท่นหิน
มักสกัดหินเป็นแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ
๓๐ เซนติเมตา
กว้างประมาณ
๑๕ ซนติเมตร หนาประมาณ ๑๐ เซนติเมตร
ส่วนลูกบดหิน
สกัดหินเป็นรูปทรงกระบอก ปลายมน ๒ ข้าง
ลูกบดหินมีความยาวประมาณ
๒๐ เซนติเมตร
ประโยชน์ใช้สอย เป็นเครื่องมือบดยาแผนโบราณให้ละเอียด
เพื่อทำเป็นยาใช้รักษาโรคต่างๆ
ประวัติความเป็นมา สำหรับการใช้แท่นหินบดที่ใช้กันในพื้นบ้านคงใช้ตัวยาสมุนไพร
ทา ต้ม และบดตัวยาให้ละเอียดเก็บเป็นผงหรือเม็ดไว้ได้นาน รวมทั้งสามารถละลายน้ำได้เร็ว
วิธีใช้หินบดยา ก่อนใช้ต้องนำเอาตัวยาจากสมุนไพรไปใส่ครกไม้หรือครกหินตำให้ละเอียดเสียก่อน
ใช้ตะแกรงหรือแร่งใส่ตัวยาร่อน นำผลซึ่งร่อนนั้นไปผสมกับตัวยาอื่นๆ ตามสัดส่วนของการทำยาแผนโบราณ
จากนั้นวางยาไว้ในแท่นหินทีละน้อยแล้วจับลูกหินบดยากดทับแท่นหินครูดไปมา ขณะบดยาจะใช้น้ำ
น้ำผึ้งพรมให้ยาเปยก บดจนตัวยาเข้ากันก็นำไปปั้นเป็นเม็ดเล็กๆ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยสะดวกและรวดเร็วเข้ามาแทนที่
การใช้แท่นหินบดยาจึงไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น