หมอนไม้ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน
ไม้มะค่า ไม้ประดู่ หรืออาจใช้ไม้สักทำก็ได้ วิธีการทำจะตัดไม้แผ่นๆ ที่เลื่อยไว้แล้วมีความหนา
๓-๕ เซนติเมตร มีความกว้าง ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๒๐-๒๕ เซนติเมตร ใช้กบไสแผ่นไม้ให้เรียบ
ผ่าแผ่นไม้ ด้วยเลื่อยทั้ง ๒ ข้าง จากนั้นใช้สิ่วเจาะไม่ให้เป็นเดือยขัดกันประมาณ ๕-๖ เดือย โดยเจาะสลับกันในแต่ละด้านของแผ่นไม้ด้วย การเจาะเดือยไม้จะเจาะไปถึงไม้ที่ผ่าซีกด้วยเลื่อยนั้น
และยึดติดกันด้วยเดือยที่เจาะ เวลาใช้ให้ตั้งแผ่นไม้ให้ขัดกันเหมือนรูปกากบาท ขัดผิวไว้ด้วยกระดาษทรายให้เรียบ
เวลาเก็บสามารถพับให้เรียบเหมือนเป็นไม้แผ่นเดียวได้
ประโยชน์ใช้สอย ใช้หนุนศีรษะ
ประวัติความเป็นมา หมอนไม้เป็นของใช้พื้นบ้านสำหรับหนุนนอนของคนแก่เฒ่าที่ไปถือศีลภาวนาในวันพระ
ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการรักษาศีลที่วัด ควรละในสิ่งที่เป็นกิเลสละจากความสะดวกสบายต่าง
ๆ แม้แต่หมอนที่หนุนนอนก็ไม่ควรอ่อนนุ่ม ดังนั้นจึงมีการทำหมอนไม้ไว้สำหรับหนุนนอน
เมื่อไปรักษาศีลภาวนาในวันพระหมอนไม้เป็นแผ่นเดียวเก็บรักษาง่าย การใช้หมอนไม้คนแก่เฒ่ามักใช้สไบ
หรือผ้าขาวม้ารองที่หมอนไม้ก่อนที่จะหนุนนอน จะได้ไม่เจ็บและนอนได้สะดวก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น