วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555
โต๊ะเครื่องแป้ง
โต๊ะเครื่องแป้ง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากไม้ มีลิ้นชักใส่ของและมีการแกะสลักลวดลายไทยสวยงามด้านข้าง
ประโยชน์ใช้สอย เป็นโต๊ะที่ใช้ในการวางของใช้ทั่วไปของสตรี
ประวัติความเป็นมา ในสมัยก่อนการแต่งเติมหน้าตาของหญิงสาวจะไม่เน้นความฉูดฉาดเหมือนกับปัจจุบันจะแต่งแต่พองามพรมน้ำอบเล็กน้อย ทาริมฝยปากด้วยขี้ผึ้ง ก็สวยงามสมวัยแล้ว จึงนิยมใช้โต๊ะเครื่องแป้งกันอย่างกว้างขวางตามฐานะของแต่ละบ้าน
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555
หมอนปูน
หมอนปูน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นหมอนทรงสี่เหลี่ยม ทำจากดินเผาเคลือบเงาเป็นศิลปะแบบจีน
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับหนุนศีรษะ
ประวัติความเป็นมา หมอนเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่มีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตแต่ละวันจองมนุษย์แล้วมีกันทุกครัวเรือนก็ว่าได้ ในประวัติศาสตร์ของจีนก็มีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องของหมอนไว้เช่นกัน โดยชาวจีนเริ่มแรกใช้หินเป็นหมอนหนุน ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยการใช้วัสดุอื่นๆ มาทำแทน เช่น ไม้ หยก ทองแดง ไม้ไผ่ และกระเบื้อง ซึ่งในจำนวนนี้หมอนที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในสมัยก่อนก็คือหมอนกระเบื้อง หมอนกระเบื้องกำเนิดขึ้นในยุคที่ศิลปะการทำกระเบื้องกำลังฟื้นฟู พบครั้งแรกในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ.๕๘๑ – ๖๑๘) แต่ก็เริ่มผลิตกันอย่างแพร่หลายราวสมัยรางวงศ์ถัง (ค.ศ.๖๑๘ – ๙๐๗) และถูกผลิตเป็นที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยราชวงศ์ซ่งจินและหยวน (ศตวรรษที่ ๑๐ –๑๔) โดยถือว่าหมอนกระเบื้องที่ผลิตจากฉือโจว เมืองหันตัน มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของประเทศจีนเป็นหมอนที่มีคุณภาพเยี่ยมที่สุด โดยรูปร่างของหมอนกระเบื้องนั้นก็นิยมทำเป็นรูปร่างหลากหลายทั้งที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม เป็นรูปสัตว์ คน และอื่นๆ โดยรูปร่างของหมอนกระเบื้องจะเป็นกระจกสะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี สภาพสังคมในเวลานั้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ในวัฒนธรรมประเพณีของจีนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและบำบัดโรคภัยไข้เจ็บในยามนอนคนโบราณสมัยก่อนมักใส่สมุนไพรไว้ในหมอนด้วย
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
หิ้งพระ
หิ้งพระ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ หิ้งพระทำมาจากไม้และเหล็กมีการแกะสลักลวดลายสวยงามตรงของหิ้งพระ
ประโยชน์ใช้สอย ใช้วางพระพุทธรูปสำหรับบูชา กราบไหว้ของคนไทย
ประวัติความเป็นมา คนไทยส่วนมากจะมีหิ้งพระประจำบ้านเพื่อใช้ในการวางพระพุทธรูปในการกราบไหว้บูชาพระ ต่อมาก็มีการทำเป็นโต๊ะหมู่บูชาเพราะจะได้มีที่ในการวางพระพุทธรูปมากขึ้นแต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือมีไว้เพื่อกราบไหว้ขอพร การจัดตั้งหิ้งพระหรือหิ้งเทพ ควรหันหน้าพระประธานไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอิสาน เรียกว่า "ทิศเศรษฐี") หรือ ทิศตะวันออก หรือ ทิศเหนือ เป็นที่นิยมมากเมื่อเราหันหน้าไปหาพระประธาน ด้านซ้ายมือของเราหรือเท่ากับด้านขวามือของพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานควรจัดตั้งด้วยองค์พระสงฆ์ เช่น รูปปั้นของหลวงปู่แหวน รูปหลวงพ่อคูณ ส่วนทางด้านซ้ายขององค์พระประธานหรือขวามือของเรา ควรจะเป็นการตั้งรูปแบบของ องค์เทพต่างๆ ที่เราเคารพสักการะบูชา เช่น รูปของ องค์พระศิวะ องค์พระนารายณ์ องค์จตุคามรามเทพ และ องค์พระพรหมรูปพ่อแก่ฤาษี เป็นต้น ควรตั้งให้องค์พระประธานดูสูงกว่ารูปขององค์เทพต่างๆ ถ้าหากว่าองค์พระประธานมีขนาดเล็กกว่าองค์เทพ ก็ควรจัดหาโต๊ะที่ตั้งแล้วมองดูสูงกว่าฐานที่ตั้งเทพ บ้านเรือนหลังนั้นก็จะเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข
ที่ใส่แก้ว
ที่ใส่แก้ว (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทํามาจากปอทักมีหูสําหรับหิ้ว
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะใส่แก้ว
ประวัติความเป็นมา ที่ใส่แก้วหรือพวงใส่แก้วนี้มีประโยชน์สําหรับเคลื่อนย้ายแก้วน้ำเพราะมีที่วางแก้ว ๒ ใบเพื่อความสะดวกในการถือและลดการกระเด็นของน้ำภายในแก้วที่ใส่แก้วน้ำาหรือพวงใส่แก้วน้ำอาจมีมากกว่า ๒ ช่ องก็ได้โดยปกตินอกจากใส่แก้วน้ําดื่มแล้วยังสามารถใส่แก้วเครื่องปรุงจําพวกน้ำตาล น้ำส้มสายชู พริกป่น เครื่องปรุ งรสอื่นๆ แล้วแต่ความต้องการ
นาฬิกาตั้งพื้น
นาฬิกาตั้งพื้น (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ตัวเรือนทํามาจากไม้ ฉลุลวดลายรอบนอก มีกระจกติดอยู่ด้านหน้า
ตัวเรือนมีขาสี่ขาสําหรับตั้งกับพื้น
ประโยชน์ใช้สอย สําหรับบอกเวลาและประดับตกแต่ง
ประวัติความเป็นมา จุดกําเนิดของเครื่องบอกเวลานั้นนับย้อนไปได้ ถึงห้าหรือหก
พันปีก่อน เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
ชาวอียิปต์ เมื่อ ๓,๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาลมีอุปกรณ์บอกเวลาในรูปของแท่งหินสูงสี่เหลี่ยมยอดปิระมิด ซึ่งจะทอดเงาลงบนทรายบอกเวลาที่ผ่านไปในช่ วงเวลาเดียวกันนั้นก็มีการใช้นาฬิกาแดดด้ วยนาฬิกาแดดประกอบด้วยแผ่นโลหะทรงกลมมีส่วนนูนลาดเอียงขึ้นมาจากตรงกลางเมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนไป เงาที่ตกลงบนแผงหน้าปัดจะเป็นตัวบอกเวลาทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้นาฬิกาแดดอยู่บ้าง ในปี ๑,๕๐๐ ก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์ได้ประดิ ษฐ์นาฬิกาแดดที่พกพาติดตัวขึ้นมาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของนาฬิกาในปัจจุบัน
เตียงสี่เสา
เตียงสี่เสา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทําจากเหล็ก เป็นโครงมีสี่เสาเพื่อใช้ติดหูมุ้ง
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สําหรับนอน
ประวัติความเป็นมา การทําเตียงสี่เสาจะเริ่มต้นด้วยการนําเหล็กมาตัดให้ ได้ ขนาดที่
พอเหมาะแล้วนํามาประกอบเป็นโครง โดยจะมีการตกแต่งลวดลายของโครงเหล็ ก
ให้มีความสวยงามตามที่ต้องการ ซึ่งเตียงสี่เสาจะยกสู งจากพื้ นประมาณสองฟุ ตเพื่อให้ เกิ ดความปลอดโปร่ง
อากาศถ่ายเทได้สะดวกรวมทั้งยังใช้ในการเก็บของ
ประเภทกระเป๋าหรือกล่องไว้ใต้เตียงได้ตามต้องการ
กาน้้าชา
กาน้้าชา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ กาน้ําชาทํามาจากดินเผาเคลือบเงามีหูหิ้ว ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีน
ประโยชน์ใช้สอย เป็ นอุปกรณ์สําหรับใส่น้ําชงชาหรือต้มน้ําสุกไว้เพื่อดื่ม
ประวัติความเป็นมา การดื่มน้ํ าชาในหมู่ ชนชาติ ต่างๆ สื บเนื่องตกทอดมาตั้ งแต่
โบราณ ภาชนะที่ใช้บรรจุชาในรูปแบบต่างๆ จึงกลายเป็นสิ่งที่ต้ องให้ ความสํ าคั ญ
ตามมา เพราะถือกันว่าเป็นเครื่องแสดงถึงรสนิยมของผู้ดื่มชา มีหลั กฐานที่ ปรากฏว่ าการดื่มชาด้ วยการลงใบ
ชาและดื่มในถ้วยใบเล็กนิยมมากในราชวงศ์หมิงของประเทศจีน กระทั้งเป็นที่แพร่หลายไปยังประเทศไทย
ไม้คาน
ไม้คาน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ไม้คานทําจากไม้เนื้อแข็ง
ประโยชน์ใช้สอย เป็นไม้ที่ใช้ในการหาบกระบุง ตะกร้า กระเช้า ฯลฯ
ประวัติความเป็นมา การใช้ไม้คานหาบของยังมีให้เห็นอยู่ในสังคมปัจจุบันทั้ ง
ในตัวเมืองหลวงและในท้องถิ่นชนบท
ชะลอม
ชะลอม (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ชะลอมเป็นเครื่องจักสานที่สานขึ้นจากตอกไม้ไผ่บางๆ มีหูหิ้ว
ประโยชน์ใช้สอย ใช้เป็นภาชนะใส่ผักผลไม้และสิ่งของต่างๆ
ประวัติความเป็นมา ชะลอมสานแบบตาเฉลวหกเหลี่ยมตาห่าง มักจะทําเป็น
รูปทรงกระบอกแล้วรวบตอกที่ปากมัดเข้าด้วยกันเพื่อหิ้ว การสานชะลอมขึ้นมาใช้ นอกจากจะทําเป็นภาชนะ
ใส่ของที่มีความคงทนแข็งแรงแล้ว รูปทรงและลายสานที่สวยงามของชะลอมยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของ
มรดกทางวัฒนธรรมอีกด้วย
หมอนขิด
หมอนขิด (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทําจากผ้าฝ้าย เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สําหรับหนุนศีรษะ
ประวั ติ ความเป็ นมา เป็ นของใช้ ที่ เป็ นเอกลั กษณ์ ทางวั ฒนธรรมของชุ มชน
ไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันทุกภาคของประเทศไทย) ในการทํ าหมอนขิ ด ในอดีตจะใช้ผ้าฝ้ายที่ชาวบ้านทอขึ้นมาเอง แต่ปัจจุบันเน้นการผลิตในปริมาณมากจึงจําเป็นต้องใช้ผ้าฝ้ายที่ทอมาจากโรงงาน ในส่วนของการทํ าลายจะมี ๒ ส่วน คื อส่ วนที่ชาวบ้ านทอลายขึ้ นมาเองจากมื อซึ่งมี ความละเอี ยดและประณี ตกว่าลายที่ทํ าสํ าเร็ จจากโรงงาน รวมทั้งในปัจจุบันมีการปรับปรุงรูปแบบลวดลายโดยการนําผ้าไหมเข้ามาทําหมอนขิดด้วย หมอนขิ ดไทยโบราณ หลังได้รับการแต่งตัวใหม่ในรู ปแบบสากลเกิ ดเป็ นส่ ว นผสมที่ ลงตั วระหว่ างภู มิ ปั ญญาไทยและการใช้งานที่เหมาะสม กลายมาเป็นสินค้าส่งออกไปทั่วโลก
วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555
พิมพ์ขนมปากริม
ชื่อวัตถุ พิมพ์ขนมปากริม (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทาจากไม้เนื้อแข็งทรงกลมเจาะรูด้านใน มีด้ามจับ
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์สาหรับทาตัวขนมปากริมไข่เต่า เป็นอุปกรณในการทาขนมโบราณโดยตัวขนมจะมีสองลักษณะอย่างแรกจะเป็นเส้นที่
มีตัวแข็งจะมีรสชาติหวานส่วนอย่างที่สองจะเป็นตัวอ่อนมีรสหวาน
พิมพ์ขนมปากริมทามาจากแผ่นไม้เจาะรูมีด้ามจับเวลาทาตัวขนมจะนาแป้ง
ที่เตรียมไว้มากดบนพิมพ์ ตัวแป้งก็จะไหลรอดออกมาทางรูของแม่พิมพ์
ประวัติความเป็นมา ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วเนื่องจากมีเครื่องทาขนมปากริมและมีเส้นขนมปากริม
สำเร็จขาย
ที่ช้อนฟองน้้าตาล
ชื่อวัตถุ ที่ช้อนฟองน้้าตาล (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทามาจากไม้ไผ่สานเป็นทรงสามเหลี่ยม มีด้ามจับซึ่งทามาจากไม้ไผ่เหลา
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ในการช้อนฟองน้าตาลขณะทาขนม
ประวัติความเป็นมา เป็นอุปกรณ์ในครัวอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์
ช้อนฟองน้าตาลหาดูได้ยากแล้วเพราะมีการผลิตที่ทันสมัยเกิดขึ้นที่ช้อนฟองน้าตาลจึงหมดความจาเป็นลงไป
วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555
ตู้ไม้
ตู้ไม้ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นตู้ไม่ฉลุลายทรงสี่เหลี่ยม ขนาดของตู้สูงประมาณ ๑ เมตร ด้านในแบ่งเป็น ๒-๓ ชั้น มีแผ่นไม้เป็นตัวกันปูพรมหรือผ้าทับอีกชั้นเพื่อเพิ่มความสวยงามและเพื่อป้องกันเสี้ยนไม้แทงเกี่ยวผ้า บานพับเปิดปิดเป็นกรอบไม้กับกระจก
ประโยชน์ใช้สอย ตู้ไม้มีประโยชน์สำหรับไว้ใส่เสื้อผ้ารวมทั้งตั้งโชว์สิ่งของทั่วไป
ประวัติความเป็นมา ตู้ไม้เป็นของใช้สำหรับใส่ของตั้งโชว์ทั่วไปมีใช้กันทุกครัวเรือน
กรรไกร
กรรไกร (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากเหล็ก ปากแหลม
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับตัด
ประวัติความเป็นมา กรรไกรโบราณชนิดนี้ส่วนมากนิยมใช้ในการตัดเส้นด้าย กรรไกรมีการพัฒนาการรูปแบบมาเลื่อยๆ จนในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงรูปแบบให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ทั้งรูปร่างและสีสันรวมทั้งยังทำที่จับสำหรับตัดไว้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ปัจจุบันการกรรไกรปากแหลมนี้มีน้อยมากเพราะด้วยความไม่สะดวกในการใช้งานรวมทั้งรูปทรงที่ไม่ทันสมัยด้วยบวกกับมีการผลิตกรรไกรแบบใหม่ขึ้นมาจึงทำให้หาดูกรรไกรโบราณชนิดนี้ได้ยากขึ้น
เสื่อล้าแพน
เสื่อล้าแพน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นเสื่อที่ผลิตจากผิวของต้นไผ่ซึ่งนำมาจักตอกให้แบนใหญ่แล้วสานด้วยลายสองหรือลายสาม มักใช้ไม้ไผ่เฉี้ยะหรือไม้ป้าว เพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนนำมาจักเป็นเส้นตอกได้ดี
ประโยชน์ใช้สอย ใช้ทำฝาบ้านหรือเพดานบ้าน
ประวัติความเป็นมา ปัจจุบันเสื่อลำแพนนิยมสานเป็นผืนใหญ่ๆ ในการใช้งานนั้นบางบ้านก็นำไปใช้ ปูนั่ง ปูนอน หรือบางทีก็นำไปใช้ตากพืชพันธุ์ ตากปลา ตากกุ้ง เป็นต้น
เครื่องอัดผ้า
เครื่องอัดผ้า (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง มีฐานเป็นแผ่นไม้ และแผ่นไม้ติดกับ
เกลียวหมุนทับผ้า
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับอัดผ้าให้รีบ โดยการพับผ้าเป็นชั้นๆ แล้วหมุนแกนให้แผ่นไม้ด้านบนทับลงมา ในสมัยโบราณยังไม่มีไฟฟ้าใช้
ประวัติความเป็นมา คนไทยเวลาไปทำบุญก็จะนิยมแต่งกายให้สวยงามเรียบร้อยจึงคิดประดิษฐ์เครื่องอัดผ้าขึ้น เวลาอัดผ้าจะนำผ้าที่ต้องการอัดพับแล้ววางไว้บนแผ่นไม้อัดด้านในจากนั้นก็จะใช้ไม้อัดอีกแผ่นกดทับลงด้วยแรงหมุนจากแกนตรงกลาง เพื่อให้ผ้าเรียบมากขึ้นก่อนหมุนเกรียวจะต้องมีการพรมน้ำลงบนผ้าเล็กน้อยเพื่อช่วยให้ผ้าเรียบมากยิ่งขึ้น ในการกดทับผ้าจะมีแกนสำหรับหมุนแผ่นไม้ที่จะกดทับผ้า ในการหนีบผ้าจะต้องหมุนเกรียวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแน่น
ถาดทองเหลือง
ถาดทองเหลือง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากทองเหลือง มีการฉลุลายรอบพานเพื่อเพิ่มความสวยงาม
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะบรรจุสิ่งของเพื่อใช้ในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์หรือใช้ในพิธีกรรมต่างๆ
ประวัติความเป็นมา ถาดที่ใช้ในการทำบุญมีหลายประเภท มีทั้งชนิดที่เป็นโลหะซึ่งนิยมทำจากเงิน ทองเหลือง และโลหะเคลือบสี และชนิดที่ไม่ใช่โลหะ คือ ถาดกระเบื้อง ถาดขนาดใหญ่ใช้สำหรับใส่สำรับคาว -หวาน เครื่องกัณฑ์เทศน์ และของที่มีขนาดใหญ่ ถาดขนาดเล็กมีไว้สำหรับใส่ศีลทาน หรือใส่หมากพลู ยาสูบ ตั้งไว้ใกล้อาสนะ ถวายพระสงฆ์ มีข้อสังเกตว่าถาดมักจะมีขาแสดงให้เห็นถึงความสูงจากพื้นสื่อถึงความเคารพสักการะผู้รับของในถาด
ไห
ไห (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ไหเป็นภาชนะที่ทำด้วยดินเผา แล้วเคลือบผิวด้วยน้ำยาเคลือบทั้งภายในและภายนอก เพื่อกันการรั่วซึมและป้องกันกรดและด่าง ปากไหแคบตัวไหป่องก้นไหเล็ก
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะบรรจุอาหารที่มีความเค็ม เปรี้ยว เช่น ไหกระเทียมดอง ไหน้ำปลา และไหผักดอง
ประวัติความเป็นมา ไหทุกแบบจะมีเชือกถักสำหรับเป็นหูหิ้วด้วย เพื่อสะดวกในการขนย้าย สำหรับไหน้ำปลามีการผลิตขึ้นในประเทศไทยที่จังหวัดราชบุรี โรงทำน้ำปลาจะตั้งอยู่ตามจังหวัดชายทะเลทั่วไป เช่น สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ระยอง จะต้องซื้อไหจากราชบุรีนี้ไปบรรจุน้ำปลาเพื่อส่งจำหน่ายไปยังท้องที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในปัจจุบันพลาสติกมีบทบาทมาก ดังนั้นที่สำหรับบรรจุน้ำปลาเพื่อจำหน่าย จึงหันมาใช้แกลลอนทำด้วยพลาสติก แต่การบรรจุไหก็ยังทำอยู่ในกรณีที่ต้องการบรรจุน้ำปลาในปริมาตรมาก ๆ
อับใส่ของ
อับใส่ของ(ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นภาชนะทรงกลม มีฝาปิดทำจากไม้ไผ่ขดเป็นกล่องกลม
ประโยชน์ใช้สอย ใช้ใส่ของ เช่น เส้นยาสูบ อาหารแห้ง และสิ่งอื่นๆ ได้เอนกประสงค์
ประวัติความเป็นมา เป็นของใช้พื้นบ้านมาแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันแทบจะไม่มีใช้กันแล้ว การใช้อับใส่ของเพื่อป้องกันแมลงรวมทั้งไม่ให้ฝุ่นผงมาทำให้ของเปรอะเปื้อน วิธีทำอับใส่ของ จะใช้หวายสานโดยจับโค้งงอเป็นวงกลมแล้วใช้หวายหรือไม้ไผ่เป็นซีกผ่ากลางหลายๆอันหนีบให้รอยต่อหัวท้ายชิดกันแล้วจึงเชื่อมด้วยยางไม้เหนี่ยวๆ เช่น ยางตะโก ยางมะพลับ เมื่อทำเสร็จแล้วจะนำมาทาน้ำมันยางหรือลงรัก ทำให้อับมีสีดำ บางทีก็ใช้สีของชาดปละครั่งทาอับใส่ของเพราะนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามแล้ว ยังช่วยรักษาตัวอับให้คงทนถาวร
หีบยาเส้น
หีบยาเส้น (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นภาชนะรูปสี่เหลี่ยม ทำด้วยไม้ มีฝาปิดเปิดได้ ตัวหรือกล่องมักทำเป็นช่องสำหรับใส่เส้นยาสูบ และใบจากหรือใบตอง เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกลม เพราะจะทำห้าเส้นและใบตองหรือใบจากกรอบ
ไม่สะดวกในการมวนยาสูบ
ประโยชน์ใช้สอย ใส่ยาเส้นและอุปกรณ์ในการมวนยาประจำบ้าน
ประวัติความเป็นมา หีบยาเส้นเป็นอุปกรณ์เก็บมวนยาเช่นเดียวกับเชี่ยนหมากที่เป็นอุปกรณ์ในการกินหมากของผู้หญิง ดังนั้นหีบยาเส้นหรือกล่องยาสูบจึงมักจะทำให้สวยงามเป็นพิเศษ เช่น การทำด้วยปุ่มไม้มะค่า หรือการแกะสลักลวดลายแต่งรอบหีบหรืออาจทำเป็นรูปแบบอื่น เช่น ทำเป็นรูปสัตว์ข้างในใส่ยาเส้นและใบตอง แทนที่จะทำเป็นหีบหรือกล่องสี่เหลี่ยมธรรมดา ทั้งนี้อยู่กับความสามารถและความพอใจของเจ้าของ ซึ่งมักจะเป็นผู้ทำขึ้นใช้เองเป็นส่วนใหญ่
แจกัน
แจกัน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นภาชนะทรงสูงมีฝาเปิดปิด ทำจากดินเผาเคลือบเขียนลายมังกรเป็นศิลปะแบบจีน
ประโยชน์ใช้สอย นิยมใช้ใส่ดอกไม้เพื่อการประดับตกแต่ง
ประวัติความเป็นมา แจกันมีหลากหลายรูปทรง และทำจากหลายวัสดุเช่น ดินเผา เซรามิก แก้ว ไม้ นิยมทำลวดลายบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของผู้ผลิตแจกัน ลวดลายที่นิยมเขียนไว้บนแจกันจะเป็นรูปมังกรเป็นส่วนมากโดยมีความหมายถึงความยิ่งใหญ่ความสง่างามแบบศิลปะจีน
ขันน้้าทองเหลือง
ขันน้้าทองเหลือง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นขันน้ำที่ทำมาจากโลหะทองเหลือง
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวหรือน้ำมนต์สำหรับ
พิธีกรรมตามประเพณี
ประวัติความเป็นมา ขันที่ใช้ในการทำบุญนั้นมีหลายประเภท อาทิ ขันเงิน ขันลงหิน และขันทองเหลือง แต่ละประเภทจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป แต่ขันที่พบว่าใช้มากในการทำบุญคือขันพานรองหรือขันที่มีเชิงสำหรับใส่ข้าวสุกตักบาตรพระ การใช้ขันที่มีพานรองหรือขันที่มีเชิงแสดงให้เห็นว่าข้าวสุกที่อยู่ในขันเป็นของสูงเหมาะควรแก่การถวายพระ
ตะเกียงสายฟ้าแลบ
ตะเกียงสายฟ้าแลบ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ถังน้ำมันเป็นเหล็ก เคลือบด้วยอีนาเมลสีดำ
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับให้แสงสว่างในพื้นที่กว้างๆ เช่น โรงงิ้ว โรงลิเก หรืองานมโหรสพ ต่างๆ
ประวัติความเป็นมา เป็นตะเกียงอัดลมประเภทที่อาศัยแรงดันน้ำมันจากถัง พ่นลงมายังห้องเผาไหม้ด้านล่าง ปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็น เนื่องจากทุกบ้านมีไฟฟ้าซึ่งมีความสะดวกในการใช้งานและให้แสงสว่างมากกว่า
ตะเกียงโป๊ะ
ตะเกียงโป๊ะ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำด้วยสังกะสีและแก้ว มีหูหิ้วและครอบแก้วกันลม ไส้ทำด้วยด้ายหรือผ้า
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับให้แสงสว่าง
ประวัติความเป็นมา เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทยพวน โดยการใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิง จุดไส้ตะเกียงที่ทำด้วยผ้าที่จุ่มลงไปในน้ำมันก๊าด โดยยกคันโยกโป๊ะ และครอบลงตามเดิม ไส้ตะเกียงไขให้สว่างมากขึ้นหรือหรี่ลงก็ได้
ตะเกียงแสงจันทร์
ตะเกียงแสงจันทร์ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นตะเกียงน้ำมันก๊าดชนิดหนึ่ง เป็นตะเกียงที่ต้องอัดลมเข้าตัวถังเหมือนกับตะเกียงเจ้าพายุ หลักการทำงานก็เหมือนกัน
ประโยชน์ใช้สอย ให้แสงสว่างยามคำคืน
ประวัติความเป็นมา ความเป็นมาของตะเกียงแสงจันทร์ที่มีในเมืองไทยนั่นสรุปได้คร่าว ๆ ตะเกียงแสงจันทร์ก็เหมือนกับตะเกียงเจ้าพายุอย่างไรก็อย่างนั้น โดยทั่วไปตะเกียงแสงจันทร์จะมีถังน้ำมันอยู่ส่วนบนสุดแล้วตามลงมาด้วยตัวถังตะเกียง การใช้ตะเกียงแสงจันทร์เห็นกันตามโรงงิ้วหรืองานวัด เพราะด้วยเหตุว่าตัวมันใหญ่ส่องสว่างได้ทั่วมักใช้กันในงานชุมนุมกันของคนสมัยก่อนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้กัน หรือพบเห็นกันในบ้านของเจ้าขุนมูลนาย คหบดี ปัจจุบันหาตะเกียงแสงจันทร์ดูได้ยากมากนอกจากพวกที่มีของเก่าเก็บจริงๆ หรือไม่ก็พวกนักสะสมเท่านั้น ตะเกียงแสงจันทร์ที่มีขายอยู่ในขณะนี้หรือตะเกียงที่ได้ตกมาถึงมือพวกเราส่วนมากจะได้จากประเทศเพื่อนบ้าน
กระโถนปากแตรทองเหลือ
กระโถนปากแตรทองเหลือง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทรงกลมมีปากผายออกคล้ายแตรขนาดใหญ่กว่าตัวกระโทนทรงสูงคล้ายแจกัน
ประโยชน์ใช้สอย สำหรับรองรับสิ่งปฏิกูล
ประวัติความเป็นมา กระโถน นิยมตั้งไว้ข้างอาสนะสำหรับพระแต่ละรูปในการทำบุญเลี้ยงพระ กระโถนทำขึ้นทั้งจากโลหะ ได้แก่ เงิน ทองเหลือง สำริด กระเบื้อง และโลหะเคลือบสี ซึ่งทำขึ้นในหลายรูปทรง เช่น ทรงปากแตร ทรงค่อม และทรงปลี กระโถนปากแตรในสมัยปัจจุบันหายากมาก
วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ตะบันหมาก
ตะบันหมาก (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นทรงกระบอกขนาดเล็กทำด้วยทองเหลืองกลึงใช้สำหรับตำหรือตะบันหมากข้างในกลวงมีเหล็กลูกตะบันเป็นจุกภายในใช้กระแทกหรือตะบันหมากให้ละเอียด
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ในการตำหมาก
ประวัติความเป็นมา ตะบันเป็นเครื่องใช้ประจำเชี่ยนหมากของคนชรา การใช้ตะบันหมากจะต้องใส่หมากพลูลงไปในตะบัน แล้วใช้เหล็กลูกตะบันกระแทกหรือตะบันหมากให้แหลกพอที่จะเคี้ยวได้ แล้วจึงใช้เหล็กตะบันหมากกระแทก “ ดาก ” หรือจุกที่ก้นดันออกทางปากเพื่อหยิบหมากออกมากิน
เต้าปูน
เต้าปูน (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำด้วยทองเหลืองและดินเผา มีรูปทรงผิดแปลกแตกต่างกันไปตามความนิยมของผู้ใช้ในแต่ละท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปจะมีสองส่วนคือ ตัวเต้าปูน สำหรับใส่ปูน และฝาสำหรับปิด มักทำเป็นรูปกรวยแหลมคล้ายฝาชี บางทีมีไม้พายเล็กๆ สำหรับตักปูนป้ายใบพลูเวลากินหมากใส่ไว้ในเต้าปูน
ประโยชน์ใช้สอย เป็นภาชะใส่ปูนกินหมาก
ประวัติความเป็นมา เต้าปูนเป็นเครื่องเชี่ยนที่มาพร้อมๆ กับการกินหมากที่คนไทยรับแบบอย่างมาจากอินเดีย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเพราะได้พบเต้าปูนทองเหลืองที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกับเต้าปูนในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเต้าปูนเป็นหัตถกรรมที่คนไทยทำขึ้นมาใช้เป็นเวลานานหลายร้อยปยแล้ว แม้ในปัจจุบันก็ยังมีการผลิตเต้าปูนกันอยู่ในหลายท้องถิ่น
รางบดยา
รางบดยา
(ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ
ทำด้วยเหล็ก
เป็นรางก้นสอบเข้าหากันเป็นรูปสามเหลี่ยมกลับหัว ยาวประมาณศอกเศษ ปลายงอนขึ้นทั้งสองข้างตรงกลางมีจานบดทำด้วยเหล็กขอบคม
ตรงกลางมีแกนสอดทะลุทั้งสองข้ามเพื่อใช้เป็นมือจับขณะบดสมุนไพรที่มีลักษณะแข็ง
ประโยชน์ใช้สอย
ใช้สำหรับบดยา
ประวัติความเป็นมา
แต่เดิมใช้ครกตำสมุนไพรที่ได้จากการหั่นหรือการขูดด้วยบุ้ง
ต่อมาได้พัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องบดยารางยาง ซึ่งประกอบด้วยรางเหล็กและลูกกลิ้งกลมขอบคม
ลูกกลิ้งจะยึดติดกับคันโยก ผู้บดจะต้องโยกคันโยกเพื่อให้ลูกกลิ้งบดสมุนไพรจนเป็นผง
ชาวจีนอาจใช้วิธีเหยียบคันโยกแต่แพทย์ไทยถือว่ายาเป็นของสูงจึงไม่ใช้เท้า ในปัจจุบันเครื่องบดยาได้พัฒนาขึ้นเป็นแบบ
รางกลมและใช้ไฟฟ้า
วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555
กระบอกตาล
กระบอกตาล (ภาษาเรียกภาคกลาง)
กะบอก (ภาษาเรียกภาคอีสาน)
ปองตาล (ภาษาเรียกภาคใต้)
ลักษณะ ทำจากลำไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนโดยมีข้อคั่นที่ก้น ส่วนปากกระบอกมีเชือก
ทำเป็นหูสำหรับห้อยหรือแขวน
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับรองน้ำตาลที่ได้จากต้นตาล หรือรองน้ำตาลมะพร้าวจากต้นมะพร้าว
ประวัติความเป็นมา กระบอกตาลทั่วไปจะเห็นว่าภายในมีสีดำ เพราะหลังการใช้งานแล้วมักจะคว่ำปากกระบอกรนควันไฟให้กระบอกแห้งและเป็นการทำความสะอาดไปด้วย กระบอกตาลมักจะเลือกลำไม้ไผ่ที่มีช่วงปล้องยาวและมีขนาดลำใหญ่พอที่จะใส่น้ำตาลได้มาก ในปัจจุบันกระบอกตาลที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่นั้นยังมีใช้อยู่ทั่วไป
วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555
อีเทิ้ง , ขุบ , ตีนช้าง , ฟ้าทับเหว หรือ คันหลุบ
อีเทิ้ง , ขุบ , ตีนช้าง , ฟ้าทับเหว หรือ คันหลุบ
(ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ อีเทิ้งทำมาจากแผ่นไม้เนื้อแข็ง ๒ แผ่นประกบกัน ไม้แผ่นบนจะ
หนากว่าแผ่นล่าง การที่ใช้แผ่นบนหนา ๆ ก็เพราะต้องมีน้ำหนักถ่วงเพื่อ
ทุบหนูให้ตาย ส่วนไม้แผ่นล่างจะบางกว่า ทำไม้ตั้งขึ้นเป็นเสาเล็ก ๆ
2 เสา ตีประกบกับด้านข้างของไม้แผ่นล่าง ไม้แผ่นบนทำร่องให้ลึก ไม้จะได้หล่นไปตามร่องได้
ประโยชน์ใช้สอย เป็นเครื่องมือสำหรับดักหนู
ประวัติความเป็นมา อีเทิ้งส่วนใหญ่จะดักตามบ้านไม่นำไปดักในนาเพราะมีน้ำหนักมากยากต่อการยกไป ปัจจุบันไม่นิยมใช้อีเทิ้ง เนื่องจากมีการผลิตอุปกรณ์ในการจับหนูที่สะดวกและรวดเร็วจึงทำให้หาดูอุปกรณ์ดังกล่าวได้ยากขึ้น
หม้อน้ำ
หม้อน้ำ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ
ทำด้วยดินเผา
ประโยชน์ใช้สอย
เป็นภาชนะสำหรับใช้ใส่น้ำไว้ดื่มและใช้สอยอื่นๆ
ประวัติความเป็นมา
หม้อดินเผา
เป็นงานหัตถกรรมเก่าแก่โบราณที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี การปั้นเริ่มจากขึ้นรูปก็ใช้แป้นหมุนด้วยมือก่อน
จากนั้นช่างปั้นจะนำหม้อที่ขึ้นรูปไว้ต่างๆ มาตี โดยจะใช้มือข้างหนึ่งถือก้อนหินกลมยาวมนหนุนภายใน
ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับไม้พายแบนๆ ตีนอกหม้อบริเวณที่ตรงกับก้อนหินค่อย ๆ ตีไล่ดินขยายตัวหม้อออกไปจนได้รูปทรงสัดส่วนและความหนาตามที่ต้องการ
ก่อนที่จะทาดินเหลืองจนทั่วเพื่อให้เกิดสีแดงสวยเวลาเผาออกมาแล้ว จากนั้นจึงนำหม้อไปผึ้งลมให้แห้งขัดด้วยหินหน้าเกลี้ยงให้ผิวหม้อมันทั้งใบสำหรับหม้อหู
และหม้อกานั้น เมื่อตีเสร็จแล้วจึงจะนำส่วนประกอบ เช่น หู พวยกามาติด แล้วจึงค่อยทาดินเหลือง
และขัดตามลำดับ บรรดาหม้อที่ปั้นเสร็จแล้วจะนำไปเผาในเตา ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง จนได้ที่เนื้อดินแกร่งดีแล้วก็เป็นอันจบสิ้นกระบวนการผลิต
กระจองงอง, โพรงไต้ หรือ โพรงตะเกียง
กระจองงอง, โพรงไต้ หรือ โพรงตะเกียง (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำจากกระบอกไม้ไผ่ 1 ปล้อง ปาดด้านข้างกระกอบไผ่
ออกเล็กน้อยเพื่อวางไต้หรือตะเกียงได้ ใช้มือจับหิ้วด้านบน
ประโยชน์ใช้สอย เป็นโครงไม้สำหรับป้องกันลมพัดไม้ให้ไฟดับ
ในขณะที่ใช้ส่องทางเดิน
ประวัติความเป็นมา การที่ชาวบ้านเรียก “กระจองงอง”
เพราะมีความเชื่อว่า ผีประเภทหนึ่ง คือผีกระจองงองชอบออกหากินตอนกลางคืน มีไฟส่องทางเป็นลำแสงขนาดใหญ่ ออกมาจากใต้คางมีรูปร่างคล้ายเป็นโพรงไม้ จึงคิดทำให้โพรงตะเกียงขึ้น และเรียกชื่อว่า
“ กระจองงอง ” การใช้กระจองงองหรือโพรงตะเกียงค่อยๆ หายไปทุกขณะ
วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ม้าหั่นยา
ม้าหั่นยา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีรางและปล่องเพื่อใช้ใส่ใบยาสูบ ตัวม้าหั่นใบยามีไม้ประกอบอยู่ ๒ ส่วนคือไม้ราง
และปล่องหรือหู
ประโยชน์ใช้สอย สำหรับหั่นใบยาหรือซอยใบยาให้เป็นเส้นยาวๆ แล้วนำไปผึ่งแดดจนแห้งจากนั้นนำมาเก็บไว้เพื่อม้วนเป็นยาสูบ
ประวัติความเป็นมา การหั่นยาต้องมีม้ารองนั่งสำหรับนั่งหั่นยา และมีดหั่นยาประกอบกันใช้ไม้แผ่นยาวสำหรับนั่งตัวต่ำๆ ส่วนใบมีดหั่นยาใช้ใบเลื่อยขนาดใหญ่ใช้เหล็กขูดลับทำเป็นคม หากต้องการให้ใบมีดหนักก็ใช้เหล็กประกบกันให้ใบใหญ่ขึ้น ปัจจุบันชาวบ้านไม่นิยมปลูกชนิดที่หั่นเป็นยาเส้นเช่นนี้อีกแล้ว แต่กลับมาปลุกยาชนิดที่เรียกว่า ยาใบ โดยเก็บใบมาเสียบไม้ตากให้แห้งขายเป็นใบๆ ฉะนั้นการปลูกยาชนิดที่ต้องหั่นจึงไม่ค่อยมีใครทำกัน เพราะขั้นตอนวิธีการไม่สะดวกและเหนื่อยกว่าการทำยาใบ ดังนั้นการใช้ม้าหั่นยาชนิดยาเส้นจึงหาดูได้ยากมาก
วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
กระต่ายขูดมะพร้าว
กระต่ายขูดมะพร้าว (ภาษาเรียกภาคกลาง)
แมวขูด (ภาษาเรียกภาคเหนือ )
กระต่ายขูดบักพ่าว (ภาษาเรียกภาคอีสาน)
เล็บขูด (ภาษาเรียกภาคใต้)
ลักษณะ ฟันที่ใช้ขูดเนื้อมะพร้าวมีลักษณะเป็นซี่ยาวเหมือนฟันกระต่ายประกอบกับโครงไม้ซึ่งใช้เสียบฟันขูดและนั่งเวลาขูดมะพร้าว
ประโยชน์ใช้สอย เป็นเครื่องมือสาหรับขูดมะพร้าวที่ยังไม่กะเทาะเปลือกออก
ประวัติความเป็นมา เดิมทีการขูดมะพร้าวคั้นกะทิจะใช้ช้อนที่ทาจากกะลามะพร้าวขูดเป็นฝอย ต่อมาทาเป็นฟันซี่โดยรอบบางแห่งใช้ซีกไม้ไผ่บากรอยเป็นซี่ กระทั่งมีการนาเหล็กมาทาเป็นซี่ละเอียด ปลายเหล็กคม เรียกว่า ฟันกระต่าย อย่างไรก็ตามการใช้กระต่ายขูดมะพร้าวลดน้อยลงทุกที เนื่องจากปัจจุบันมีกะทิสาเร็จรูปขายซึ่งสะดวกสบายมากกว่า เราจึงไม่เห็นกระต่ายขูดมะพร้าวคู่ครัวไทยเหมือนดังเช่นอดีต
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
หินฝนยา
หินฝนยา
(ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ
เป็นแผ่นหินทรงกลม
มีไม้บดที่ทำมาจากไม้
ประโยชน์ใช้สอย
ใช้สำหรับฝนยาให้มีความละเอียด
และทำให้ตัวยาหลายชนิดผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
ประวัติความเป็นมา
เป็นแท่นหิน
ใช้สำหรับฝนยาหมู่ เช่น นวเขี้ยว หรือฝนตัวยาเพื่อทำน้ำกระสายยา
กระบุง
กระบุง
(ภาษาเรียกภาคกลาง)
เปี้ยด
(ภาษาเรียกภาคเหนือ)
กระบุ๋ง
(ภาษาเรียกภาคอีสาน)
ลักษณะ
สานด้วยตอกไม้ไผ่
ปากกลม ก้นสอบเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
ปากกว้างกว่าก้นมักมีขอบและผูกเสริมตามมุมและก้นด้วยหวายมีหูสำหรับสอดเชือกสำหรับคล้องกับคานหาบ
ประโยชน์ใช้สอย
เป็นภาชนะสำหรับใส่สิ่งของและพืชพันธุ์ต่างๆ
ประวัติความเป็นมา
กระบุงเป็นภาชนะที่นิยมใช้กันทั่วไป
ใส่เมล็ดข้าว พืช ข้าวเปลือก ข้าวสาร อาจใช้วิธีการหาบเป็นคู่หรือแบกกระบุง บางท้องถิ่นจะใช้เป็นภาชนะตวงด้วย
เช่น กระบุงขนาดความจุ ๑๕ ลิตร หรือ ๒๐ ลิตร ๓๒
กลัก
วัตถุ
กลัก (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ
เป็นภาชนะรูปกระบอกทำด้วยกระบอกไม้ไผ่มีฝาปิด
ประโยชน์ใช้สอย
ใช้เก็บเอกสาร
เงินทองของมีค่า และใช้เก็บอาหารต่าง ๆ
ประวัติความเป็นมา
กลักชนิดทำด้วยกระบอกไม้ไผ่คงทำมาก่อนการใช้ตอกจักสาน
ชาวบ้านใช้กลักสำหรับใส่โฉนดที่ดิน ตั๋ววัว ตั๋วควาย ในทะเบียนบ้าน เงินทองของมีค่า
ใส่ไว้ในกลักเสมอ เพราะเป็นการป้องกันแมลงสาบ หนู ปลวก
มาแทะกัดกินทำให้สิ่งของเสียหายได้
กลักยังใช้ใส่น้ำพริก อาหารแห้งใส่ไปกินตามกลางไร่กลางนา การเลือกลำไม้ไผ่ต้อง เลือกปล้องตรง
ขนาดของลำแล้วแต่ความต้องการนำไปใช้ ตัดไม้ไผ่มา ๑ ปล้อง ให้เหลือข้อหัวหรือข้อท้ายไว้
ควั่นส่วนปากกระบอกเข้าลึกไปในเนื้อไม้กึ่งหนึ่ง ให้กระบอกไม้ไผ่ที่ทำเป็นฝาปิดสวมได้
ฝากระบอกไม่ไผ่จะเหลาบาง เมื่อสวมเข้ากับตัวกระบอกแล้วจะสนิทกันพอดี ใช้หนังปลากระเบนขัดผิวกลักจนเรียบ
นอกจากกลักซึ่งทำด้วยกระบอกไม้ไผ่แล้ว ยังใช้ตอกไม้ไผ่สานเป็นลายสองมีฝาปิด ส่วนใหญ่สานเป็นรูปทรงกระบอก
และรูปทรงสี่เหลี่ยมลงรักด้านนอกด้านในกลัก ทำให้กลักใช้ได้ทนทาน ๓๑
วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
หินบดยา
หินบดยา (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ หินบดยามีส่วนประกอบคือ
แท่นหิน และลูกบดหิน แท่นหิน
มักสกัดหินเป็นแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ
๓๐ เซนติเมตา
กว้างประมาณ
๑๕ ซนติเมตร หนาประมาณ ๑๐ เซนติเมตร
ส่วนลูกบดหิน
สกัดหินเป็นรูปทรงกระบอก ปลายมน ๒ ข้าง
ลูกบดหินมีความยาวประมาณ
๒๐ เซนติเมตร
ประโยชน์ใช้สอย เป็นเครื่องมือบดยาแผนโบราณให้ละเอียด
เพื่อทำเป็นยาใช้รักษาโรคต่างๆ
ประวัติความเป็นมา สำหรับการใช้แท่นหินบดที่ใช้กันในพื้นบ้านคงใช้ตัวยาสมุนไพร
ทา ต้ม และบดตัวยาให้ละเอียดเก็บเป็นผงหรือเม็ดไว้ได้นาน รวมทั้งสามารถละลายน้ำได้เร็ว
วิธีใช้หินบดยา ก่อนใช้ต้องนำเอาตัวยาจากสมุนไพรไปใส่ครกไม้หรือครกหินตำให้ละเอียดเสียก่อน
ใช้ตะแกรงหรือแร่งใส่ตัวยาร่อน นำผลซึ่งร่อนนั้นไปผสมกับตัวยาอื่นๆ ตามสัดส่วนของการทำยาแผนโบราณ
จากนั้นวางยาไว้ในแท่นหินทีละน้อยแล้วจับลูกหินบดยากดทับแท่นหินครูดไปมา ขณะบดยาจะใช้น้ำ
น้ำผึ้งพรมให้ยาเปยก บดจนตัวยาเข้ากันก็นำไปปั้นเป็นเม็ดเล็กๆ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยสะดวกและรวดเร็วเข้ามาแทนที่
การใช้แท่นหินบดยาจึงไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว
วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
กระบอกน้้า
กะบอกน่้า
(ภาษาเรียกภาคอีสาน)
ปองน้้า
(ภาษาเรียกภาคใต้)
ลักษณะ
ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่
ประโยชน์ใช้สอย
กระบอกน้ำใช้ใส่น้ำดื่ม
น้ำใช้ เมื่อเดินทางไปไกลๆ
ประวัติความเป็นมา การเลือกลำไม้ไผ่มาทำกระบอกน้ำ
ต้องเลือกลำไม้ไผ่ที่แก่จัด ลำโต ปล้องยาว ชาวบ้านมักใช้ไผ่สีสุก ไม้ไผ่ป่า ไม้ไผ่ตง
และไม้ไผ่หก ตัดลำไม้ไผ่ส่วนที่ทำกระบอกยาวประมาณ ๑ เมตร ใช้เลื่อยหรือมีดตัดก้นกระบอกให้เหลือข้อไว้เพื่อใส่น้ำไม่รั่ว
ทางปลายกระบอกจะตัดให้เลยข้อมาเกือบครึ่งปล้อง ปากกระบอกเป็นรูปมนๆ ใช้ยกดื่มหรือเทใส่ภาชนะรองรับได้สะดวกยิ่งขึ้นข้อปล้องกระบอกภายในใช้ท่อนไม้
หรือเหล็กทะลุข้อปล้องออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะส่วนก้นและปลายปากกระบอก บางที่ชาวบ้านจะเหลาผิวกระบอกด้านนอกออกเพราะทำให้กระบอกน้ำเบาลง
รวมทั้งมีสีขาวสวยงาม เจาะรูปากระบอกและก้นกระบอกเพื่อใช้ร้อยเชือกแขวนสะพายระหว่างเดินทาง
การใช้กระบอกน้ำคงใช้กันมานานแล้วและคาดว่าคงคิดทำขึ้นก่อนการสานชะลอมตักน้ำของพระร่วง
ซึ่งหมายถึงครุ ปกติชาวบ้านจะใช้กระบอกน้ำในเวลาไปทำนา ทำไร่
กะเหล็บ
ลักษณะ เป็นภาชนะสานทึบรูปค่อนข้างแบนทรงสูงปากภาชนะ
เป็นวงกลมและเริ่มป่องเหมือนโอ่งน้ำ พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สะพายติดหลังใส่สิ่งของได้เอนกประสงค์
ประวัติความเป็นมา กะเหล็บเป็นของใช้ที่สำคัญของชาวไทยโซ่ง
หรือลาวโซ่ง
กะเหล็บที่สานขึ้นจะมีความประณีตลายละเอียดรูปร่าง
สวยงามมาก
ในเวลาเดินทางกะเหล็บนอกจากจะใส่ของใช้เป็นเสื้อผ้า แป้ง ข้าว ของกิน ผักผลไม้ และเมล็ดพืชในการเพาะปลูกแล้วยังใช้ในพิธีแต่งงานโดยใช้กะเหล็บเป็นขันหมากของฝ่ายเจ้าบ่าว
ภายในกะเหล็บจะใส่หมาก พลู เมื่อเจ้าบ่าวสะพายกะเหล็บไปถึงบ้านของเจ้าสาวแล้ว เจ้าสาวจะรับกะเหล็บไปวางไหว้ผีบ้านผีเรือนพร้อมกับเจ้าบ่าวเมื่อคู่บ่าวสาวไหว้เสร็จจะนำเอาหมากพลูในกะเหล็บให้คนเฒ่าคนแก่ที่มาร่วมในพิธีนั้นเคี้ยวกินพร้อมขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลในการครองชีวิตคู่
ในปัจจุบันชาวโซ่งยังใช้กะเหล็บในพิธีแต่งงานอยู่มากกว่าใช้ทำอย่างอื่น
หมอนไม้
หมอนไม้ (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน
ไม้มะค่า ไม้ประดู่ หรืออาจใช้ไม้สักทำก็ได้ วิธีการทำจะตัดไม้แผ่นๆ ที่เลื่อยไว้แล้วมีความหนา
๓-๕ เซนติเมตร มีความกว้าง ๑๐-๑๕ เซนติเมตร ยาว ๒๐-๒๕ เซนติเมตร ใช้กบไสแผ่นไม้ให้เรียบ
ผ่าแผ่นไม้ ด้วยเลื่อยทั้ง ๒ ข้าง จากนั้นใช้สิ่วเจาะไม่ให้เป็นเดือยขัดกันประมาณ ๕-๖ เดือย โดยเจาะสลับกันในแต่ละด้านของแผ่นไม้ด้วย การเจาะเดือยไม้จะเจาะไปถึงไม้ที่ผ่าซีกด้วยเลื่อยนั้น
และยึดติดกันด้วยเดือยที่เจาะ เวลาใช้ให้ตั้งแผ่นไม้ให้ขัดกันเหมือนรูปกากบาท ขัดผิวไว้ด้วยกระดาษทรายให้เรียบ
เวลาเก็บสามารถพับให้เรียบเหมือนเป็นไม้แผ่นเดียวได้
ประโยชน์ใช้สอย ใช้หนุนศีรษะ
ประวัติความเป็นมา หมอนไม้เป็นของใช้พื้นบ้านสำหรับหนุนนอนของคนแก่เฒ่าที่ไปถือศีลภาวนาในวันพระ
ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการรักษาศีลที่วัด ควรละในสิ่งที่เป็นกิเลสละจากความสะดวกสบายต่าง
ๆ แม้แต่หมอนที่หนุนนอนก็ไม่ควรอ่อนนุ่ม ดังนั้นจึงมีการทำหมอนไม้ไว้สำหรับหนุนนอน
เมื่อไปรักษาศีลภาวนาในวันพระหมอนไม้เป็นแผ่นเดียวเก็บรักษาง่าย การใช้หมอนไม้คนแก่เฒ่ามักใช้สไบ
หรือผ้าขาวม้ารองที่หมอนไม้ก่อนที่จะหนุนนอน จะได้ไม่เจ็บและนอนได้สะดวก
เตารีด
เตารีด
(ภาษาเรียกภาคกลางและภาคใต้)
ลักษณะ
ทำด้วยเหล็กหรือทองเหลืองทั้งอัน
มีน้ำหนักมาก ประมาณ ๒-๓
เท่าของเตารีดไฟฟ้าในปัจจุบัน
ประโยชน์ใช้สอย
เป็นอุปกรณ์ในการรีดผ้าของคนโบราณ
โดยใช้ก้อนถ่านไฟให้ความร้อน
ประวัติความเป็นมา การที่ทำเตารีดให้มีน้ำหนักมากนั้นเพื่อเวลากดทับลงบนผืนผ้าที่จะรีดให้เกิดความเรียบ
ผนังเตาทั้งสองข้างมีลักษณะโอบเข้าไปเป็นรูปทรงแหลมๆ ตอนบนบริเวณริมขอบทำเป็นลายหยักรูปฟันปลาไปตลอดแนว
เพื่อเป็นการระบายความร้อนจากถ่านก้อนกลมๆ ที่เผาไปจนร้อนซึ่งบรรจุอยู่ภายในเตารีด
ความร้อนจากถ่านไฟจะทำให้ผ้าเรียบ สำหรับถ่านที่ใช้ในการรีดผ้านั้นจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ
เวลานำมาเผาไฟจะไม้แตกกระจาย ตลอดจนมีขี้ถ่านน้อยกว่าถ่านหุงข้าวมาก ถ่านรีดผ้าส่วนมากมักทำมากจากไม้โกงกาง
การรีดผ้าด้วยเตารีดดังกล่าวนี้จะต้องมีใบตองพับซ้อนกันไว้หลายๆชั้นอยู่ในขณะที่รีดด้วยเพื่อใช้เป็นที่นาบคลายความร้อน
เมื่อถ่านมอดลงเป็นขี้เถ้าจะต้องนำเตารีดออกไปนอกชานแล้วใช้พัดใบลานพัดให้ขี้เถ้ากระจายฟุ้งออกไปตามช่องหยักฟันปลา
และเวลารีดผ้าต้องมีผ้าขาววางทับผ้าที่รีดก่อนเพื่อสีผ้าที่รีดจะได้ไม้ซีด
เชี่ยนหมากหรือ กระทายหมาก
ขันหมาก (ภาษาเรียกภาคเหนือ)
ลักษณะ
เชี่ยนหมากทำจากวัสดุหลายประเภท
เช่น ไม้ ทองเหลือง
เงิน
พลาสติก และเครื่องเขิน ตัวเชี่ยนหมากมีลักษณะคล้ายๆ พาน
หรือเป็นเหลี่ยม
๖ เหลี่ยม
ประโยชน์ใช้สอย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวางตลับใส่หมาก
ตลับยาเส้น
กระปุกปูน ตลับสีเสียด และซองใส่พลู
ประวัติความเป็นมา เชี่ยนหมากมีมาแต่โบราณในราชาศัพท์ระดับพระมหากษัตริย์เรียกพานพระศรี
ระดับราชวงศ์เรียก พานหมากเสวย เชี่ยนหมากนอกจากจะใช้วางอุปกรณ์ในการกินหมากแล้ว ยังใช้ต้อนรับอาคันตุกะแขกบ้านแขกเมืองได้เป็นอย่างดี
การกินหมากในสมัยโบราณถือว่าเป็นสิ่งดีงาม เพราะคนฟันดำเป็นลักษณะของคนสวย นอกจากนี้ยังให้เกิดความเพลิดเพลินในเวลาเคี้ยวหมาก
ช่วยฆ่าเวลาและทำให้ฟันแข็งแรงทนทานอีกด้วย การกินหมากมาเลิกอย่างจริงจังในสมัยจอมพล
ป.พิบูลสงคราม เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งสกปรกเลอะเถอะไม่ทันสมัย เชี่ยนหมากจึงไม่ค่อยพบเห็นกันมาตั้งแต่ในครั้งกระนั้นแล้ว
และยิ่งคนสูงอายุล้มหายตายจากไปหมด การกินหมากก็คงค่อยๆ สูญหายไป เชี่ยนหมากจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ตะเกียงเจ้าพายุ
ลักษณะ ตะเกียงเจ้าพายุมี นมหนู มีวาล์ว มีท่อส่งน้ำมัน ตัวเปิดปิดน้ำมัน มีเกจ์วัดความดัน
และไส้ตะเกียง
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับให้แสงสว่าง
ประวัติความเป็นมา ตะเกียงเจ้าพายุดวงแรกของโลกได้ถือกำเนิดขึ้นตามที่มีเอกสารยืนยัน “ ในปี ค.ศ. 1895 โดยคุณ Meyenberg, Wendorf และ Henlein ได้ทำการจดลิขสิทธิ์ "ตะเกียงไอ
(Vapourlamp) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค ศ.
1895 ตะเกียงประเภทนี้นอกจากใช้ในบ้านเรือนแล้วยังได้ถูกนำไปใช้ในโคมไฟตามถนนหนทาง
รวมถึงประภาคารเพื่อส่งแสงเจิดจ้าฝ่าความมืดผ่านมหาสมุทรเพื่อแจ้งเตือนเรือถึงภัยจากหินโสโครก
ส่วนชื่อเป็นทางการของตะเกียงเจ้าพายุจะได้แก่ "Incandescent Mantle
Pressured Lamp" ซึ่งน่าจะแปลได้ว่า "ตะเกียงไส้เปล่งสว่างด้วยแหล่งเชื้อเพลิงที่ทำการอัดแรงดัน"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)